การเลือกขนาดยกทรง

การเลือกขนาดยกทรง

img045.jpg













img046.jpg

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  • การวัดขนาดแบบยุโรป
     เป็นการวัดขนาดยกทรงเป็นเซนติเมตรเป็นการวัดที่นิยมวัดในประเทศไทย วิธีการวัด เช่น
    วิธีการวัดของยกทรงวาโก้
 

ตารางขนาดคับ

ขนาดคับ

ผลต่างรอบอก-รอบใต้อก

A

9.0-11.0ซ.ม.

B

11.5-13.5ซ.ม.

C

14.0-16.0ซ.ม.

D

16.5-18.5ซ.ม.

E

19.0-21.0ซ.ม.

>E

21.5ขึ้นไป

ตารางขนาดไซด์

ขนาดไซด์

รอบใต้อก

65

63.0-67.0ซ.ม.

70

68.-72.0ซ.ม.

75

73.0-77.0ซ.ม.

80

78.0-82.0ซ.ม.

85

83.0-87.0ซ.ม.

90

88.0-92.0ซ.ม.

95

93.0-102ซ.ม.

100

98.0-102ซ.ม.

105

103.0-102ซ.ม.


 จะเห็นได้ว่าการวัดขนาดของยกทรง แต่ละระบบจะแตกต่างกันโดยที่ระบบทั้ง 2 ที่เขียนไว้เป็นระบบที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดเมื่อมีการพูดถึงขนาดยกทรงที่ต้องการจะต้องดูด้วยว่าเป็นยกทรงที่ใช้ระบบวัดของใคร ตัวอย่างยกทรงต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างยกทรงของแต่ละประเทศเปรียบเทียบกันโดยทั่วไป ของไซด์ของทางยุโรปจะเล็กกว่าของอเมริกา
 
 

US

UK

France

Europe

Italian

30

30

80

65

1

32

32

85

70

2

34

34

90

75

3

36

36

95

80

4

38

38

100

85

5

40

40

105

90

6

42

42

110

95

7

44

44

115

100

8

 
 
 
 
 
 
 
  •  
    • หมายเหตุ
      1.การวัดขนาดจะได้พอดีและพอเหมาะพอดีถ้ามียกทรงขนาดที่ต้องการลองตัวได้เลยทันที
      2.ถ้ามีเต้านมข้างเดียวเนื่องจากการผ่าตัดเต้านมออกไป ผลการที่มีเต้านมขนาดไม่เท่ากัน อาจจะต้องใช้การเสริมทรงอีกข้างให้ไม่มีความแตกต่างกันอีกข้างหนึ่งในขณะที่วัดเพื่อให้ได้ขนาดยกทรงที่เท่ากันระหว่าง 2 ข้าง
      3.ถ้ากรณีที่ไม่มีเต้านมทั้ง 2 ข้าง ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือถูกตัดออกทั้ง 2 ข้าง ให้วัดขนาดของบราก่อนแล้วเลือกขนาดของคับได้ตามต้องการ เพราะต้องเสริมฟองน้ำใต้ยกทรงอยู่แล้ว ดังนั้น จะเลือกขนาดคับใดก็ได้ขึ้นกับขนาดที่ชอบแต่ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับร่างกายเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติโดยดูจากคำแนะนำในข้อ 4
 
  •  
    •  

      •    4.ในการเลือกขนาดของคับ อาจเลือกโดยขึ้นกับหุ่นหรือรูปร่างดังนี้
        ขนาดของบรา  28-38             รูปร่างผอมบาง        -         คับ A
                                                รูปร่างสมส่วน         -         คับB
                                                รูปร่างใหญ่           -          คับC
        ขนาดของบรา  40-42             รูปร่างสมส่วน         -          คับ B
                                                รูปร่างใหญ่           -          คับ C – D
        ขนาดของบรา  44-46             รูปร่างสมส่วน         -          คับ C
                                                รูปร่างใหญ่           -          คับ D –DD
        5.ถ้าวัดขนาดแล้วได้ขนาดที่อยู่กลางระหว่าง 2 ไซด์ไม่พอดีกับไซด์ที่คำนวณได้อาจลองขยับขนาดขึ้นลงนิดหน่อยโดยที่ถ้าเพิ่มขนาดของยกทรงก็ลดขนาดของคับลงและค่าลดขนาดของคับก็เพิ่มขนาดของยกทรง
        ตัวอย่างเช่น ถ้าวัดได้ขนาดแล้วได้ 36 C (แต่ไม่พอดีอาจลองขนาด 38 B หรือ 34 D ดูว่าพอดีหรือไม่
        6.ถ้าขนาดมันใหญ่มากๆตั้งแต่DDขึ้นไป ต้องพยายามเลือกขนาดติดพอดีไม่ให้ใหญ่เกินไป ยกทรงของบางบริษัทอาจทำขนาดยกทรงให้ค่อนข้างใหญ่อยู่แล้วเช่นในคนที่วัดขนาดได้ 40 อาจจะเลือกใช้ ยกทรงขนาด 38 ได้
        7.สำหรับขนาดคับที่เกินกว่าคับ D ขนาดของคับจะมีการกำหนดไว้หลายแบบโดยอาจจะมีการกำหนดเป็นตัวอักษร ตัดจากตัวD เช่น G,E,F ทุกขนาด 1 นิ้วที่เพิ่มขึ้น หรืออาจใช้การเขียนตัวอักษรซ้ำๆ เมื่อมีขนาดเกินคับ D เช่น DD,DDD ดังนั้นขนาดที่เกินคับ D จะเป็นดังนี้ 
                        คับ E             =            คับDD
                        คับ  F            =            คับ EE   =  คับ  DDD
                        คับ G             =            คับ FF    =  คับ  EEE   = DDDD
        8. ถ้าขนาดของบราที่วัดได้จากการข้างต้นมีความกแตกต่างจากขนาดยกทรงที่คุณใส่ในเวลานี้มากๆและยกไซด์ยกทรงที่ใส่มีความพอดีอยู่แล้วให้ใช้ไซด์ที่ใส่อยู่เดิม
        9.ถ้าวัดขนาดด้วยวิธีสายวัดขนาดข้างต้นเพื่อที่จะได้ใส่ถุงเต้านมข้างเดียว และขณะที่วัดขนาดไม่ได้มีการลองถุงเต้านมหรือลองใส่ฟองน้ำคับที่ได้ อาจไม่พอดี การที่จะให้ได้คับที่พอดีอาจต้องเตรียมลองถุงเต้านมที่พอเหมาะไปด้วย
        10.ในกรณีที่เต้านมใส่ถุงเต้านมทั้ง 2 ข้างการวัดขนาดทำโดยการเลือกขนาดยกทรงที่พอดีแต่ขนาดคับสามารถกำหนดได้เองไม่ต้องวัด
        11.การวัดข้างต้นเป็นการประมาณคร่าวๆเท่านั้นไซด์ของยกทรงที่พอเหมาะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นความสูง,น้ำหนัก,และรูปร่าง   
         

 

 
{mospagebreak title=การวัดขนาดยกทรง&heading=page2}
 
 
การวัดขนาดยกทรง

การเลือกขนาดของยกทรงเป็นปัญหาหนึ่งที่ยุ่งยากของคนทั่วไป โดยเฉพาะหลังการผ่าตัดเนื่องจากยกทรงแต่ละยี่ห้อมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน เช่นยกทรงขนาด 70 B ของวาโก้ อาจมีขนาดแตกต่าง จาก 70 B ของไทรอั้ม

การเลือกสวมใส่ยกทรงที่เหมาะสมได้สัดส่วนและมีทรวดทรงที่สวยงามนั้นจำเป็นที่จะต้องเลือกขนาดยกทรง (คับและไซด์) ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสรีระและสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเลือกไซด์ยกทรงคือ การวัดสัดส่วนเพื่อหาขนาดคับ-ไซด์ อย่างถูกวิธี

ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างข้างล่างเป็นการวัดขนาดของทรงยกทรงที่ต่างประเทศโดยทั่วไป การวัดขนาดจะต้องใช้สายวัด

วัดรอบอกที่ระดับหัวนม > ขนาดระดับราวนม
วัดรอบอกที่ระดับใต้ราวนม > ขนาดรอบอกใต้ราวนม

  • ตัวเลขที่ได้รับของขนาดใต้ราวนมถ้าเป็นเลขคี่ให้+5”จะได้ขนาดของยกทรง เช่นถ้าวัดได้ 29“+5”=ขนาดยกทรง34
  • ตัวเลขวัดใต้ราวนมถ้าเป็นเลขคู่ให้+4”จะได้ขนาดยกทรง เช่นการวัดได้28”+4”=ขนาดยกทรง 34”
    ส่วนต่างระหว่างขนาดระดับราวนมและใต้ราวนมเป็นตัวกำหนดคับไซด์ดังนี้

32” band (27-28”ribcage) : 34” band (29-30”ribcage)36” band (31-32”ribcage) : 38” band (33-34”ribcage)

6”=A 

7”=A

8”=A 

9”=A

6.5’=Full A 7.5”=Full A 8.5”=Full A 9.5”=Full A
7”=B 8”=B 9”=B 10”=B
7.5”=Full B 8.5”=Full B 9.5”=Full B 10.5”=Full B

8”=C

9”=C

10”=C

 

8.5”=Full C 9.5”=Full C 10.5”=Full C  
9”=D 10”=D 11”=D 11”=C
9.5”=Full D 10.5”=Full D 11.5”=Full D 11.5”=Full C
10”=DD 11”=DD 12”=DD 12”=D
10.5”=Full DD 11.5”=Full DD  12.5”=Full DD 12.5”=Full D
11”=E 12”=E 13”=E 13”=DD
11.5”=Full E 12.5”=Full E 13.5”=Full E 13.5”=Full DD

ตัวอย่างที่ 2 เป็นขนาดของยกทรงยี่ห้อหนึ่งของไทย ซึ่งจะวัดขนาดเป็น cm. โดยรูปแบบการวัด
เช่นเดียวกับต่างประเทศคือวัดขนาดรอบอกและขนาดใต้อกโดยขนาดเป็นดังนี้

ขนาด

  • ยืนตรงแล้วใช้สายวัด (ด้านเซนติเมตร) วัดตำแหน่งรอบอกโดยให้สายวัดผ่านจุดหัวกันทั้งสองข้าง
  • จากนั้นวัดรอบใต้อก(ซึ่งจะบอกถึงขนาดลำตัว)

    เส้นรอบวงทั้งสองตำแหน่งนี้ ควรอยู่ในแนวขนานกับพื้นและไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไปจากนั้นนำ
    ตัวเลขที่ได้มาลบกัน แล้วนำผลต่างมาดูตารางเปรียบเทียบขนาดชุดชั้นใน ผลต่างที่ได้คือ ขนาดของคับ ส่วนขนาด
    ของไซด์นั้นนำตัวเลขที่ได้จากการวัดรอบอกใต้อก มาเทียบกับตารางยกทรงได้เลย

ตารางเทียบขนาดยกทรง ( ขนาดคับ-ขนาดไซด์)

ตารางขนาดคับ

ขนาดคับ

ผลต่างรอบอก-รอบใต้อก

A

9.0 - 11.0 ซ.ม.

B

11.5 - 13.5 ซ.ม.

C

14.0 - 16.0 ซ.ม.

D

16.5 - 18.5 ซ.ม.

E

19.0 - 21.0 ซ.ม.

>E

21.5 ขึ้นไป

ตารางขนาดไซด์
ขนาดไซด์ รอบใต้อก
65 63.0 - 67.0 ซ.ม.
70 68.0 - 72.0 ซ.ม.
75 73.0 - 77.0 ซ.ม.
80 78.0 - 82.0 ซ.ม.
85 83.0 - 87.0 ซ.ม.
90 88.0 - 92.0 ซ.ม.
95 93.0 - 97.0 ซ.ม.
100 98.0 – 102 ซ.ม.
105 103.0 – 107 ซ.ม.
รอบอก      81 ซม.
รอบใต้อก  69 ซม.
ผลต่าง      12 ซม.
ขนาดคับคือ B ขนาดไซด์คือ 70 ขนาดยกทรงที่ได้คือ B70

ความสวยงามของรูปทรงหน้าอกหลังจากเสริมขึ้นกับขนาดและรูปร่างของหน้าอกเดิม การเสริมหน้าอก
เป็นการทำให้หน้าอกเดิมมีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพหลังจากการเสริมหน้าอกเดิมคือ หน้าอกเดิมแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น
เทคนิคและวิธีการผ่าตัดอาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่อผลที่ได้จากการผ่าตัดบ้างแต่มีผลน้อยกว่าโครงสร้างพื้นฐานของ
หน้าอกโดยทั่วไปการเสริมหน้าอกสามารถทำให้อาจมีขนาดใหญ่ได้แต่ไม่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของ
หน้าอกได้ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเสริมหน้าอกได้แก่รูปร่างและขนาดของกระดูกซี่โครง ขนาดของเนื้อนม
ลักษณะผิวหนังบริเวณหน้าอก ตำแหน่งและขอบเขตของขนาดเต้านมและหัวนมในบางคนหน้าอกอาจมีขนาดไม่
เท่ากันการผ่าตัดสามารถช่วยแก้ปัญหาการไม่เท่ากันในบางกรณี แต่บางกรณีการผ่าตัดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ตัวอย่างเช่น ความแตกต่างกันของระดับของหัวนมและขอบล่างของเต้านม การผ่าตัดเสริมหน้าอกไม่สามารถปรับ
ให้เท่ากันได้แต่ถ้าต้องการผ่าตัดเต้านมที่มีขนาดแตกต่างกันมาก การใส่ถุงเต้านมที่มีขนาดต่างกันจะช่วยปรับ
ขนาดให้ใกล้เคียงกันได้

หลังจากได้คอนเซปด์ ของการวัดขนาดหน้าอกคร่าวๆขณะที่ปรึกษาแพทย์ วิธีการวัดขนาดขึ้นอยู่กับ
เทคนิค ของแพทย์แต่ละท่าน การวัดคร่าวๆอาจทำโดยการใส่ถุงเต้านมไปที่สปอร์ตบราที่ไม่ได้เสริมฟองน้ำแล้ว
มองภาพที่กระจกหลังจากการลองไซด์ วิธีการนี้ช่วยให้เห็นภาพของหน้าอกหลังการเสริมคร่าวๆและเป็นวิธีการที่
ง่ายการวัดขนาดอีกวิธีหนึ่งได้แก่การวัดความกว้างความยาวของหน้าอกจริง แล้วมาเปรียบเทียบกับถุงซิลิโคนของ
แต่ละบริษัท แต่ละแบบ วิธีการนี้เป็นการวัดที่ค่อนข้างละเอียดและบอกได้ชัดเจน โดยเฉพาะถุงที่มีขนาดใหญ่
ว่ามีความกว้างของถุงมากเกินไปหรือไม่ (oversize) หรือถ้าถุงขนาดเล็กเกินไป อาจทำให้ลักษณะหัวนมชี้ออก
หรือเข้า เนื่องจากหัวนมไม่ได้อยู่ตรงกลางถุง บางครั้ง หลังจากลองขนาดถุงเต้านมและเลือกขนาดถุงแล้วอาจต้อง
ทำการเปรียบเทียบขนาดหน้าอกกับถุงซิลิโคนว่าสามารถใส่ได้พอดีหรือไม่ (ดูรายละเอียดในเรื่องชนิดของ
ซิลิโคน)

ขณะที่ทำการปรึกษาเลือกขนาดจะต้องพิจารณา เนื้อหาการปรับขนาดแต่ละคนด้วยโดยต้องดู

  1. ขนาดเนื้อนมแตกต่างกันมากหรือไม่ ถ้าเนื้อเต้านมต่างกันมากอาจต้องพิจารณาใส่ถุงที่มีขนาด
    แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะใส่ถุงซิลิโคนต่างกันประมาณ 20 cc. เพื่อปรับขนาดโดยเต้านมข้างที่ใหญ่กว่าจะใส่ถุงที่
    เล็กกว่า 20 cc. บางครั้งถ้าขนาดของเต้านมมีขนาดต่างกันมากๆ ขนาดถุงที่ใส่อาจต้องแตกต่างกัน 40-50 cc.
  2. ระดับของขอบล่างของราวนม เป็นขอบเขตด้านล่างของนม โดยทั่วไปหน้าอกด้านที่เล็กกว่าอาจมี
    ขอบราวนมสูงกว่า ด้านที่เต้านมใหญ่กว่าแต่ไม่แน่เสมอไป การเสริมหน้าอกบางครั้งอาจช่วยปรับระดับของเต้า
    นมโดยการทำช่องใส่เต้านมให้ต่ำกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของถุงซิลิโคนที่ใส่ด้วย รวมทั้งขึ้นกับความ
    แตกต่างเดิม การผ่าตัดอาจช่วยหรือไม่ช่วยแก้ปัญหานี้
  3. ระดับของหัวนม เรื่องนี้เป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยการผ่าตัดโดยทั่วไป การผ่าตัดเสริมหน้าอก
    จะไม่สามารถเปลี่ยนระดับของหัวนมได้เลย แต่การที่หน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจช่วยทำให้ความแตกต่างอันนี้
    เห็นชัดน้อยลง
  4. ลักษณะหัวนมและปานนม ในบางคนหัวนมและปานนม เล็กและมีร่องรอยเหี่ยวย่นอาจเกิดจากการที่
    ตั้งครรภ์แล้วเต้านมขนาดใหญ่ เต้านมและปานนมก็จะใหญ่ขึ้นแล้วหลังคลอดบุตรเต้านมและปานนมเล็กลงทำให้
    เกิดร่องรอยย่นขึ้นที่ปานนม การเสริมหน้าอก ช่วยให้ปานนมตั้งขึ้นและหัวนมตั้งขึ้นได้

img045.jpg














ภาพอ้างอิงจาก http://www2.victoriassecret.com/braguide/howToMeasure.cfm?rfnbr=5373