การวัดขนาดยกทรง

การวัดขนาดยกทรง

ขนาดของยกทรงมีการวัดเป็นขนาด ของคับ และขนาดของรอบอกโดยทั่วไปการวัดขนาดของยกทรงจะระบบที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ  แม้ในประเทศ เดียวกันก็ยังใช้ระบบที่แตกต่างกันแล้วแต่ละบริษัทที่ผลิตยกทรงโดยทั่วไปจะพบการวัดขนาดยกทรงจะมี 2 ระบบ คือ วัดเป็นเซนติเมตร และวัดเป็นนิ้ว แต่ละระบบจะมีขนาดย่อยออกเป็น A B C D เช่นเดียวกัน เวลาวัดขนาดยกทรงในประเทศไทย จะใช้ระบบเซนติเมตรเป็นหลัก เช่นเดียวกับทางยุโรป แต่ก็มีการวัดเป็นนิ้ว เช่น 32, 34 ค่อนข้างมากเช่นกัน วิธีการวัดทั้งสองแบบจะมีความแตกต่างในเรื่องของระบบการวัด ในที่นี้จะกล่าวถึงการวัดที่ใช้กันทั่วไป เพื่อเป็นแนวทางในการวัดขนาด ของยกทรงที่ตัวเองต้องการ

โดยทั่วไปหน้าอกผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเพิ่มหรือลดขนาด และทรงหน้าอกก็จะเปลี่ยนไปช่วงที่มีประจำเดือนหรือการตั้งครรภ์ก็ทำให้ขนาดหน้าอกเพิ่มขึ้น หรือจะทำให้ยกทรงที่เลือกใช้อาจมีขนาดไม่พอดี จะแนะนำให้เช็คขนาดของยกทรงใหม่ประมาณปีละ ครั้งหรือ 2 ครั้ง

วัสดุที่ต้องเตรียม

  1. สายวัดที่มีหน่วยวัดเป็นทั้งเซนติเมตรและนิ้ว
  2. กระจกส่องที่มีขนาดเห็นได้เต็มตัว

การเตรียมตัว

  1. ถ้ามีเพื่อนหรือญาติช่วยวัดจะสะดวกกว่าเพราะจะวัดขนาดได้พอดีมากกว่า
  2. วัดในท่ายืนตรงหน้ากระจก หายใจเข้าออกช้าๆ
  3. ไม่ควรใส่เสื้อผ้าวัดอาจใส่ยกทรงได้ 1 ตัว และไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาๆ
  4. ใส่ยกทรงที่สวมสบายและพอดี
  5. เลือกสายวัดที่ใช้วัดเสื้อผ้าไม่ควรใช้สายวัดที่เก่าเกินไป เพราะจะยืดมากกว่าปกติ

การวัดขนาดแบบอเมริกา

ขั้นที่ 1 ? วัดขนาดของบรา

วัดขนาดของหน้าอก ใต้ราวนม โดยใช้สายวัด รอบขอบล่างของยกทรงระวังอย่าให้สายพับงอ ขณะที่วัดและดูให้สายวัดอยู่ในระดับเดียวกับทั้งด้านหน้าและด้านหลังทรวงอก

นำขนาดที่วัดมาบวกด้วย 5 ก็จะได้ค่าขนาดยกทรงหรือขนาดถ้าตัวเลขที่ได้มีค่าเป็นเลขคี่ก็ให้เพิ่มขนาดอีก1 เป็นเลขคู่ ถัดไปจากตัวเลขเดิม เพราะขนาดของยกทรงหรือบราจะเป็นเลขคู่

ยกตัวอย่าง ถ้าวัดรอบอกใต้ราวนมได้ 29 นิ้ว( +5 นิ้ว) ค่าของขนาดของบรา จะเท่ากับ 34

ขั้นที่ 2 ? ขนาดของคับ

การวัดขนาดของคับทำโดยใช้สายวัดวัดรอบส่วนของเต้านม ในตำแหน่งที่กว้างที่สุด การวัดควรจับสายวัดให้ตึงพอดี ไม่แน่นจนเกินไป ค่าที่ได้จะเป็นค่าขนาดรอบหน้าอก(Bust size)

ขั้นที่ 3 ? นำค่าที่ได้จากขั้นที่ 2 ( ขนาดรอบเต้านม Bust measurement )

มาลบออกก่อนค่าที่วัดขั้นที่ 1(ขนาดของยกทรง Bra size ) ก็จะได้ขนาดของคับโดยที่ความแตกต่าง 1 นิ้ว จะเท่ากับ 1 คับ ตัวอย่างเช่น ถ้าขนาดรอบหน้าอกได้ 35 ส่วนขนาดใต้ราวนมได้ 34 ขนาด ของคัพของคุณก็จะเป็นคัพ Aหรือเรียกว่า 34 A

 

 ขนาดของยกทรงมีการวัดเป็นขนาด ของคับ และขนาดของรอบอกโดยทั่วไปการวัดขนาดของยกทรงจะระบบที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ  แม้ในประเทศ เดียวกันก็ยังใช้ระบบที่แตกต่างกันแล้วแต่ละบริษัทที่ผลิตยกทรงโดยทั่วไปจะพบการวัดขนาดยกทรงจะมี 2 ระบบ คือ วัดเป็นเซนติเมตร และวัดเป็นนิ้ว แต่ละระบบจะมีขนาดย่อยออกเป็น A B C D เช่นเดียวกัน เวลาวัดขนาดยกทรงในประเทศไทย จะใช้ระบบเซนติเมตรเป็นหลัก เช่นเดียวกับทางยุโรป แต่ก็มีการวัดเป็นนิ้ว เช่น 32, 34 ค่อนข้างมากเช่นกัน วิธีการวัดทั้งสองแบบจะมีความแตกต่างในเรื่องของระบบการวัด ในที่นี้จะกล่าวถึงการวัดที่ใช้กันทั่วไป เพื่อเป็นแนวทางในการวัดขนาด ของยกทรงที่ตัวเองต้องการ
 โดยทั่วไปหน้าอกผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเพิ่มหรือลดขนาด และทรงหน้าอกก็จะเปลี่ยนไปช่วงที่มีประจำเดือนหรือการตั้งครรภ์ก็ทำให้ขนาดหน้าอกเพิ่มขึ้น หรือจะทำให้ยกทรงที่เลือกใช้อาจมีขนาดไม่พอดี จะแนะนำให้เช็คขนาดของยกทรงใหม่ประมาณปีละ ครั้งหรือ 2 ครั้ง
วัสดุที่ต้องเตรียม
1. สายวัดที่มีหน่วยวัดเป็นทั้งเซนติเมตรและนิ้ว
2. กระจกส่องที่มีขนาดเห็นได้เต็มตัว
การเตรียมตัว
1. ถ้ามีเพื่อนหรือญาติช่วยวัดจะสะดวกกว่าเพราะจะวัดขนาดได้พอดีมากกว่า
2. วัดในท่ายืนตรงหน้ากระจก หายใจเข้าออกช้าๆ
3. ไม่ควรใส่เสื้อผ้าวัดอาจใส่ยกทรงได้ 1 ตัว และไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาๆ
4. ใส่ยกทรงที่สวมสบายและพอดี
5. เลือกสายวัดที่ใช้วัดเสื้อผ้าไม่ควรใช้สายวัดที่เก่าเกินไป เพราะจะยืดมากกว่าปกติ
การวัดขนาดแบบอเมริกา
ขั้นที่ 1 ? วัดขนาดของบรา
- วัดขนาดของหน้าอก ใต้ราวนม โดยใช้สายวัด รอบขอบล่างของยกทรงระวังอย่าให้สายพับงอ ขณะที่วัดและดูให้สายวัดอยู่ในระดับเดียวกับทั้งด้านหน้าและด้านหลังทรวงอก
- นำขนาดที่วัดมาบวกด้วย 5 ก็จะได้ค่าขนาดยกทรงหรือขนาดถ้าตัวเลขที่ได้มีค่าเป็นเลขคี่ก็ให้เพิ่มขนาดอีก1 เป็นเลขคู่ ถัดไปจากตัวเลขเดิม เพราะขนาดของยกทรงหรือบราจะเป็นเลขคู่
- ยกตัวอย่าง ถ้าวัดรอบอกใต้ราวนมได้ 29 นิ้ว( +5 นิ้ว) ค่าของขนาดของบรา จะเท่ากับ 34
ขั้นที่ 2 ? ขนาดของคับ
- การวัดขนาดของคับทำโดยใช้สายวัดวัดรอบส่วนของเต้านม ในตำแหน่งที่กว้างที่สุด การวัดควรจับสายวัดให้ตึงพอดี ไม่แน่นจนเกินไป ค่าที่ได้จะเป็นค่าขนาดรอบหน้าอก(Bust size)
ขั้นที่ 3 ? นำค่าที่ได้จากขั้นที่ 2 ( ขนาดรอบเต้านม Bust measurement )
 -       มาลบออกก่อนค่าที่วัดขั้นที่ 1(ขนาดของยกทรง Bra size ) ก็จะได้ขนาดของคับโดยที่ความแตกต่าง 1 นิ้ว จะเท่ากับ 1 คับ ตัวอย่างเช่น ถ้าขนาดรอบหน้าอกได้ 35 ส่วนขนาดใต้ราวนมได้ 34 ขนาด ของคัพของคุณก็จะเป็นคัพ Aหรือเรียกว่า 34 A


ค่าความแตกต่าง <1นิ้ว = AA
 1นิ้ว=A
 2นิ้ว=B

 

 

 

 

13.1B

 

 

 

 

การวัดขนาดแบบยุโรป
 เป็นการวัดขนาดยกทรงเป็นเซนติเมตรเป็นการวัดที่นิยมวัดในประเทศไทย วิธีการวัด เช่น
วิธีการวัดของยกทรงวาโก้

ตารางขนาดคับ
ขนาดคับ ผลต่างรอบอก-รอบใต้อก
A 9.0-11.0ซ.ม.
B 11.5-13.5ซ.ม.
C 14.0-16.0ซ.ม.
D 16.5-18.5ซ.ม.
E 19.0-21.0ซ.ม.
>E 21.5ขึ้นไป

ตารางขนาดไซด์
ขนาดไซด์ รอบใต้อก
65 63.0-67.0ซ.ม.
70 68.-72.0ซ.ม.
75 73.0-77.0ซ.ม.
80 78.0-82.0ซ.ม.
85 83.0-87.0ซ.ม.
90 88.0-92.0ซ.ม.
95 93.0-102ซ.ม.
100 98.0-102ซ.ม.
105 103.0-102ซ.ม.
 
 จะเห็นได้ว่าการวัดขนาดของยกทรง แต่ละระบบจะแตกต่างกันโดยที่ระบบทั้ง 2 ที่เขียนไว้เป็นระบบที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดเมื่อมีการพูดถึงขนาดยกทรงที่ต้องการจะต้องดูด้วยว่าเป็นยกทรงที่ใช้ระบบวัดของใคร ตัวอย่างยกทรงต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างยกทรงของแต่ละประเทศเปรียบเทียบกันโดยทั่วไป ของไซด์ของทางยุโรปจะเล็กกว่าของอเมริกา

US UK France Europe Italian
30 30 80 65 1
32 32 85 70 2
34 34 90 75 3
36 36 95 80 4
38 38 100 85 5
40 40 105 90 6
42 42 110 95 7
44 44 115 100 8

 

 

 

หมายเหตุ
1.การวัดขนาดจะได้พอดีและพอเหมาะพอดีถ้ามียกทรงขนาดที่ต้องการลองตัวได้เลยทันที
2.ถ้ามีเต้านมข้างเดียวเนื่องจากการผ่าตัดเต้านมออกไป ผลการที่มีเต้านมขนาดไม่เท่ากัน อาจจะต้องใช้การเสริมทรงอีกข้างให้ไม่มีความแตกต่างกันอีกข้างหนึ่งในขณะที่วัดเพื่อให้ได้ขนาดยกทรงที่เท่ากันระหว่าง 2 ข้าง
3.ถ้ากรณีที่ไม่มีเต้านมทั้ง 2 ข้าง ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือถูกตัดออกทั้ง 2 ข้าง ให้วัดขนาดของบราก่อนแล้วเลือกขนาดของคับได้ตามต้องการ เพราะต้องเสริมฟองน้ำใต้ยกทรงอยู่แล้ว ดังนั้น จะเลือกขนาดคับใดก็ได้ขึ้นกับขนาดที่ชอบแต่ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับร่างกายเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติโดยดูจากคำแนะนำในข้อ 4


4.ในการเลือกขนาดของคับ อาจเลือกโดยขึ้นกับหุ่นหรือรูปร่างดังนี้
ขนาดของบรา  28-38             รูปร่างผอมบาง        -         คับ A
                                               รูปร่างสมส่วน         -         คับB
                                               รูปร่างใหญ่              -          คับC
ขนาดของบรา  40-42             รูปร่างสมส่วน         -          คับ B
                                               รูปร่างใหญ่              -          คับ C ? D
ขนาดของบรา  44-46             รูปร่างสมส่วน          -          คับ C
                                               รูปร่างใหญ่               -          คับ D ?DD
5.ถ้าวัดขนาดแล้วได้ขนาดที่อยู่กลางระหว่าง 2 ไซด์ไม่พอดีกับไซด์ที่คำนวณได้อาจลองขยับขนาดขึ้นลงนิดหน่อยโดยที่ถ้าเพิ่มขนาดของยกทรงก็ลดขนาดของคับลงและค่าลดขนาดของคับก็เพิ่มขนาดของยกทรง
ตัวอย่างเช่น ถ้าวัดได้ขนาดแล้วได้ 36 C (แต่ไม่พอดีอาจลองขนาด 38 B หรือ 34 D ดูว่าพอดีหรือไม่
6.ถ้าขนาดมันใหญ่มากๆตั้งแต่DDขึ้นไป ต้องพยายามเลือกขนาดติดพอดีไม่ให้ใหญ่เกินไป ยกทรงของบางบริษัทอาจทำขนาดยกทรงให้ค่อนข้างใหญ่อยู่แล้วเช่นในคนที่วัดขนาดได้ 40 อาจจะเลือกใช้ ยกทรงขนาด 38 ได้
7.สำหรับขนาดคับที่เกินกว่าคับ D ขนาดของคับจะมีการกำหนดไว้หลายแบบโดยอาจจะมีการกำหนดเป็นตัวอักษร ตัดจากตัวD เช่น G,E,F ทุกขนาด 1 นิ้วที่เพิ่มขึ้น หรืออาจใช้การเขียนตัวอักษรซ้ำๆ เมื่อมีขนาดเกินคับ D เช่น DD,DDD ดังนั้นขนาดที่เกินคับ D จะเป็นดังนี้
                  คับ E             =            คับDD
                คับ  F             =            คับ EE   =  คับ  DDD
                คับ G             =            คับ FF    =  คับ  EEE   = DDDD
8. ถ้าขนาดของบราที่วัดได้จากการข้างต้นมีความกแตกต่างจากขนาดยกทรงที่คุณใส่ในเวลานี้มากๆและยกไซด์ยกทรงที่ใส่มีความพอดีอยู่แล้วให้ใช้ไซด์ที่ใส่อยู่เดิม
9.ถ้าวัดขนาดด้วยวิธีสายวัดขนาดข้างต้นเพื่อที่จะได้ใส่ถุงเต้านมข้างเดียว และขณะที่วัดขนาดไม่ได้มีการลองถุงเต้านมหรือลองใส่ฟองน้ำคับที่ได้ อาจไม่พอดี การที่จะให้ได้คับที่พอดีอาจต้องเตรียมลองถุงเต้านมที่พอเหมาะไปด้วย
10.ในกรณีที่เต้านมใส่ถุงเต้านมทั้ง 2 ข้างการวัดขนาดทำโดยการเลือกขนาดยกทรงที่พอดีแต่ขนาดคับสามารถกำหนดได้เองไม่ต้องวัด
11.การวัดข้างต้นเป็นการประมาณคร่าวๆเท่านั้นไซด์ของยกทรงที่พอเหมาะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นความสูง,น้ำหนัก,และรูปร่าง