รูปร่างและผิวของถุงเต้านม

รูปร่างและผิวของถุงเต้านม

รูปทรงของถุงเต้านมจะแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ

  1. รูปกลม (  Round Breast implant )
  2. ทรงหยดน้ำหรือทรงธรรมชาติ (  Anatomical ,Contour)

 

  1. รูปกลม (  Round Breast implant )

    • มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เมื่อใส่เข้าไปในร่างกายถุงก็จะคงรูปเป็นรูปกลมแบน
    • ถุงทรงกลมมีการทำออกมาทั้งแบบผิวทรายและผิวเรียบ
    • การเลือกขึ้นกับคนไข้และรูปร่างของหน้าอก
    • การใส่ถุงทรงกลมบางครั้งอาจไม่ธรรมชาติเวลานอนถุงจะไม่คล้อยในด้านข้าง และมีรูปร่างกลมแต่ถ้าคนไข้ยืนเจลที่อยู่ภายในถ้าเป็นเจลธรรมดา จะไหลลงล่างส่วนหน้าอกที่อยุ่ใต้หัวนมมีความนูนมากกว่าเหนือหัวนมก็จะดูเป็นธรรมชาติได้
    • ถุงทรงกลมมีราคาต่ำกว่าถุงทรงหยดน้ำ



    • ทรงสูงทรงธรรมชาติ

      ถุงทรงกลมจะมีการผลิตให้มีความกว้างของฐาน และความสูงแตกต่างกัน เพื่อให้มีความเหมาะสมกับลักษณะหน้าอกและความต้องการของคนไข้ โดยจะมีการเรียกแตกต่างกัน ขึ้นกับแต่ละบริษัทโดยทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น  3  แบบ คือ
    1. ทรงธรรมชาติ ( Normal  standard  low profile ) สำหรับผู้ที่ต้องการหน้าอกที่เป็นธรรมชาติ
    2. ทรงกลางๆ ( Mederate profile) จะมีลักษณะฐานแคบลงและความสูงเพิ่มขึ้นเหมาะกับคนที่ต้องการให้ หน้าอกตั้งมากขึ้นโดยเหมาะกับคนที่ช่วงไหล่แคบและต้องการให้หน้าอกมีความนูนมากและเนินหน้า อกเห็นได้ชัด
    3. ทรงสูง ( high profile ) เป็นทรงที่มีฐานแคบกว่าทรงกลางและความสูง สูงกว่าเหมาะกับคนที่ต้องการหน้าอกที่นูนมาก
      ในปัจจุบันทรงธรรมชาติมีการใช้น้อยลงมักใช้รูปทรงกลางและสูงมากกว่า โดยทั่วไปแต่ละบริษัท จะมีการเรียกที่แตกต่างกันบ้าง แต่ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของทรงของถุงเต้านมจะเป็นแบบเดียวกันกับที่กล่าว คือฐานแคบลงและไปเพิ่มที่ความสูง การเลือกทรงอาจต้องอาศัยประสบการณ์และพิจารณาจากคนไข้เป็นรายๆไป ในที่นี้จะกล่าวถึงว่าในถุงแต่ละบริษัทมีการจัดทรงแบบใดบ้าง เพื่อเป็นตัวอย่างการพิจารณาคร่าว

      1. MENTOR  - ไม่ได้ผลิตและนำเข้าแบบธรรมชาติแล้วในปัจจุบันจะมีแบบ
        A.  ทรงกลางๆ         ( Moderate profile )
        B.  ทรงกลางๆ พลัส  ( Moderate plus )
        C.  ทรงสูง              ( High profile )
        D.  ทรงสูงมาก         (Ultra high profile)
        A B C –เป็นทรงที่มีใช้ในประเทศไทย
      2. PIP  -มีรูปแบบ
        1.  แบบมาตรฐาน     ( standard )  มีลักษณะฐานกว้างความสูงน้อย
        2.  แบบสูง             ( high profile )  ฐานแคบและความสูงมากกว่า
        3.  แบบสูงมาก        ( ullrahigh )
        1,2 เป็นทรงที่มีใช้ในประเทศไทย
      3. ALLERGAN   มีแบบ
        1.  แบบมาตรฐาน     ( MLP )
        2.  แบบสูง              ( MHP )

      การจัดรูปทรงต่างๆของแต่ละบริษัทอาจมีรูปร่างแตกต่างกัน ต้องดูแล้วแต่การออกแบบของแต่ละบริษัท ตัวอย่างเช่น  ถุงขนาด 300 cc มาตรฐาน เมื่อเทียบกับถุงขนาด 300 cc ของอีกบริษัทจะมีความแตกต่างกันทั้งความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง ดังนั้น การเลือกขนาดต้องอาศัยประสบการณ์และความคุ้นเคยของแพทย์แต่ละคนว่าคุ้นเคยกันแบบไหน
  2. ทรงหยดน้ำหรือทรงธรรมชาติ (  Anatomical, Contour )



    แรกเริ่มทรงหยดน้ำ ถุงออกแบบมาเพื่อใช้ในการผ่าตัดเสริมหน้าอกในคนที่ตัดมะเร็งเต้านมถุงทรงหยดน้ำถูกออกแบบให้มีลักษณะเหมือนเต้านมธรรมชาติ คือถ้ามองจากด้านหน้าถุงจะมีลักษณะเป็นวงรี ถ้ามองจากด้านข้าง พบว่าถุงจะมีขนาดใหญ่บริเวณด้านลาง ส่วนด้านบนจะมีขนาดเล็ก  (  ลักษณะเหมือนกับรูปปิรามิด )
    จากการออกแบบจะทำให้ถุงทรงหยดน้ำจะมีน้ำหนัก ด้านล่างมากกว่าด้านบน

    ถุงแบบหยดน้ำ ถูกออกแบบให้มีตำแหน่งที่ชัดเจนในการวางขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดถุงทรงหยดน้ำไม่ควรที่จะหมุนได้ ดังนั้นถุงทรายหยดน้ำ มักจะเป็นถุงทราย ไม่มีการผลิตเป็นผิวเรียบ เพราะผิวทรายจะทำให้เนื้อเยื่อเกาะได้ดีทำให้ไม่เกิดการหมุน ดังนั้นการผ่าตัดชนิดนี้จะยาก กว่าการใส่ถุงชนิดกลม เพราะบางบริษัทจะทำออกมาเป็นถุงของหน้าอกซ้ายหรือขวา แพทย์จะต้องเปิดช่องให้พอดีไม่ใหญ่เล็กจนเกินไป และวางถุงที่ตำแหน่งที่พอดีกับช่องว่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหมุนของถุง
    • เช่นเดียวกับถุงทรงกลม ถุงทรงหยดน้ำแต่ละบริษัท จะมีการออกแบบไว้หลายอย่างเพื่อให้เลือกได้โดยที่จะมีความแตกต่างในเรื่องความยาวของถุง และความสูง ให้ถุงมีความแตกต่างเช่น Inamed จะมีแบบยาวสั้น ถุงทรงสูงหรือทรงธรรมชาติ ขณะที่ Mentor จะมีทรงสูงและทรงปานกลาง PIP จะมีแบบยาวและแบบสั้นสำหรับในประเทศไทยมีการใช้ถุงแบบนี้ค่อนข้างน้อย บริษัทแต่ละบริษัทจะไม่ได้นำเข้าถุงแบบนี้มาทุกแบบ ถ้าคิดจะใช้ถุงชนิดนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนวันผ่าตัด นานพอสมควรเพื่อดูว่ามีขนาดที่ต้องการหรือไม่ 

ผิวของถุงโดยทั่วไปแบ่งเป็น

  1. ผิวเรียบ ( Smooth  implant )
  2. ผิวทราย ( Textured  implant

 

  1. ถุงผิวเรียบ 
    • เป็นถุงที่ผลิตมาก่อนผิวทรายโดยจะมีความหนาน้อยกว่าถุงผิวทรายทำให้เวลาสัมผัสจะนิ่มกว่าผิวทราย
    • หลังจากผ่าตัดโดยใช้ถุงผิวเรียบจะเริ่มให้นวดค่อนข้างเร็วเมื่อเข้าที่แล้วถุงผิวเรียบจะสามารเคลื่อนที่ได้รอบๆช่องว่าง  ที่ทำไว้โดยถุงเต้านมที่ใส่ถุงผิวเรียบที่เป็นปกติ ไม่ว่าจะใช้เหนือหรือใต้กล้ามเนื้อ ถ้าไม่มีพังพืดรัด การนวดหรือสัมผัสจะขยับถุงได้รอบทุกทิศทางตั้งแต่ขอบล่างของเต้านมจนถึงใต้กระดูกไหปลาร้า ขึ้นกับช่องว่างที่ทำไว้เมื่อเปรียบเทียบกับหน้าอกที่ใส่ถุงผิวทราย  เวลานวดขอบถุงเต้านมจะไม่สามารถเคลื่อนถุงไปได้รอบ





  2. ผิวทราย ( Textured ) ถุงผิวทรายจะมีเปลือกถุงหนากว่าผิวเรียบและมีโอกาสที่จะมีการฉีกขาดของถุงได้มากกว่าผิวเรียบเพราะมีการพับงอได้มากกว่า
    • ถุงผิวทรายออกแบบครั้งแรกเพื่อป้องกันการเกิดพังพืดหดรัดหลังจากใช้ได้ซักระยะหนึ่งพบว่าอัตราการเกิดพังพืดอาจไม่ต่างกัน  ถ้าใส่ใต้กล้ามเนื้อ   แต่ถ้าใส่เหนือกล้ามเนื้อพบว่าส่วนใหญ่โอกาสเกิดพังพืดรัดมีน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการเกิดพังพืดกับผิวของถุงปัจจุบัน แพทย์จะมีความเห็นแตกต่างกัน
    • การที่ถุงผิวทรายมีความหนามากกว่าผิวเรียบโอกาสที่ถุงจะพับงอหรือคว่ำได้ รอยพับของถุงจะมีมากกว่า การเกิดรอยพับที่เกิดจากเนื้อเยื่อหรือพังพืดติดกับเปลือกถุงและมีการหดรัดดึงถุงขึ้นมาการเกิดรอยพับมักไม่เกิดกับถุงผิวเรียบ ในกรณีถ้าเกิดปัญหาเรื่องพับจากการหดของเนื้อเยื่อการแก้ไขต้องผ่าตัดใหม่โดยเปลื่ยนเป็นถุงผิวเรียบ
    • หลังผ่าตัดด้วยถุงผิวทรายที่ไม่สามารถขยับเปลื่ยนตำแหน่งไปมาได้เวลานวดเต้านม