ถุงเต้านมเทียม

ถุงเต้านมเทียม

 

ถุงเต้านมเทียมชนิดต่างๆ
ถุงเต้านมทุกชนิดประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เปลือกถุงและสารที่บรรจุภายในถุง ส่วนของเปลือกถุงเป็นสาร
ที่ทำจากซิลิโคน โดยที่แต่ละชนิดจะบรรจุ สารที่อยู่ภายในแตกต่างกันได้แก่ น้ำเกลือ ซิลิโคน เจล และน้ำมันพืชใช้ทั่วไป เราจะเรียกชื่อถุงตามสารที่ใช้บรรจุในถุง ซึ่งในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะน้ำเกลือ และเจล เพราะเป็นสารที่ใช้ปกติ ส่วนสารอื่นๆนั้นอยู่ในระหว่างการศึกษาผลระยะยาวซึ่งยังไม่แนะนำให้นำมาใช้กันแพร่หลาย

1.ถุงน้ำเกลือ

ถุงน้ำเกลือเป็นถุงเต้านมที่มีการนำมาใช้กันมากในระยะเริ่มแรกโดยที่ถุงชนิดนี้บริษัทจะผลิตเฉพาะ
เปลือกของถุงเป็นขนาดต่างๆกันเป็นถุงเปล่าขณะที่ทำการผ่าตัดต้องใส่ถุงเปล่าเข้าไปในช่องว่างที่เปิดไว้ก่อน แล้ว
จึงเติมน้ำเกลือทางสายที่ติดกับถุง เมื่อได้ขนาดที่ต้องการ จึงดึงสายออกบริเวณทางออกของสายจะมีฝาปิดถุง ซึ่งหลังจากดึงสายออกฝาปิดก็จะถูกดึงเข้ามาปิดถุง

ถุงน้ำเกลือเป็นถุงที่มีความปลอดภัยสูงสุดในเรื่องสารแปลกปลอมเพราะสารที่ใส่ในถุงเป็นน้ำเกลือ
ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแน่นอนแต่จะมีปัญหาเรื่องการรั่วซึมของน้ำเกลือออกจากถุงได้มากถุงน้ำเกลือเป็นถุงที่นิยม ใช้กันในประเทศอเมริกา เพราะในอเมริกามีการห้ามไม่ให้ใส่ถุงเจลเพื่อการเสริมสวยเป็นเวลานานแต่สามารถใช้เพื่อการเสริมหน้าอกหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้นในอเมริกาจะใช้ถุงน้ำเกลือเกือบทั้งหมด ในปัจจุบันสำนักงานอาหารและยาของอเมริกา มีการยินยอมให้ใช้ถุงเจล เพื่อการเสริมสวยในคนที่มีอายุมากกว่า 22 ปีได้แต่ต้องมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องมีการลงทะเบียนกับบริษัท อย่างไรก็ตามถุงน้ำเกลือก็ยังเป็นถุงที่นิยมใช้กันมากในประเทศอเมริกา เนื่องจากมีการห้ามใช้ถุงเจลมากกว่า 10 ปี ขณะทั่วไปยุโรปและอเมริกาใต้มีการใช้ถุงเจลกันมากกว่าถุงน้ำเกลือ

ถุงน้ำเกลือมีการผลิตออกมาเป็นทั้งผิวเรียบและผิวทราย มีทั้งทรงกลม และทรงหยดน้ำมีขนาดแตก
ต่างกันตั้งแต่ขนาด 120-850 cc และยังมีการผลิตชนิดที่สามารถเพิ่มขนาดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ (Expandable)
ยังมีการผลิตชนิดที่มีการเติมน้ำเกลือมาแล้วจากผู้ผลิต (Prefilled) แต่ไม่เป็นที่นิยมกันและในประเทศไทยยังไม่มี
การนำเข้ามาใช้ในประเทศ

ถุงน้ำเกลือมีการผลิตโดยใช้ถุงซิลิโคนอย่างหนาประกอบกับส่วนของถุง และมีวาล์วอยู่กึ่งกลางถุง
ซึ่งโดยมากวาล์วจะอยู่ทางด้านหน้าของถุงแต่บางชนิด จะทำวาล์วทางด้านหลัง(หมายเหตุถุงน้ำเกลือที่ใช้ในประเทศไทยวาล์วจะอยู่ด้านหน้า)


ถ้าเติมน้ำเกลือน้อยกว่าขนาดที่ระบุจะทำให้ถุงมีการพับงออยู่ภายใน มีโอกาสให้ถุงมีการฉีกขาด
หรือรั่วได้ภายหลัง การเกิดรอยพับหรือรอยย่นของถุงพบได้บ่อยในกรณีที่เติมน้ำเกลือน้อยกว่าที่แนะนำ
ดังนั้นโดยสรุป ถ้าถุงน้ำเกลือมีขนาด 300 cc ก็ควรเติมน้ำเกลือประมาณ 300-325 cc จะเป็นขนาดที่มีปัญหาน้อยที่สุด

หลังจากการวางถุงน้ำเกลือจนได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้ว จะเติมน้ำเกลือผ่านสายยางที่ติดกับวาล์วโดยน้ำเกลือที่ใช้จะใช้น้ำเกลือเหมือนกับที่ใช้เข้าเส้นเลือด ขณะที่พักที่โรงพยาบาลถ้ามีการฉีกขาดของถุงน้ำเกลือจะรั่วออกนอกถุง แล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งหมด ถุงน้ำเกลือจะมีการผลิตขนาด 120-850 cc แต่ถ้าต้องการขนาดใหญ่กว่านี้สามารถสั่งทำเป็นพิเศษได้ ส่วนด้านหน้าของถุงซิลิโคน จะมีวาล์วอยู่ ซึ่งจะติดกับสายพลาสติกสำหรับฉีดน้ำเกลือ วาล์วมีการผลิตเป็นรูปร่างหลายแบบแล้วแต่บริษัทบางชนิดมีการลองใช้กับระยะหลังแล้วเกิดปัญหาต้องเลิกใช้

ในปัจจุบันวาล์วที่นิยมใช้จะเป็นลักษณะฝา ปิด-เปิด (Diaphragm) เหมือนกับกระดุมแป๊กที่ติดเสื้อโดยที่ขณะที่แพทย์ใส่ถุงในตำแหน่งที่ต้องการ เติมน้ำเกลือ ไล่ฟองอากาศออกแล้ว จะดึงสายยางที่ติดกับวาล์ว ออกพร้อมกับส่วนของจุกยางบริเวณฝาจะกระตุกปิดเข้าไปบนขอบด้านหน้าตรงกลางของถุงกันไม่ให้น้ำเกลือไหลออก

ถุงน้ำเกลือชนิดที่กล่าวแล้ว จะเป็นแบบปกติในที่นี้จะกล่าวถึงบางชนิด

  1. แบบสเปกตรัม เป็นถุงน้ำเกลือชนิดที่ขยายขนาดได้ โดยมีส่วนที่เป็นวาล์วอยู่ด้านหลัง และมีอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ต่อกับท่อน้ำเกลือเรียกว่าพอร์ต(Port) ที่สามารถอัดเติมน้ำเกลือได้ ถุงแบบนี้สามารถใช้ปรับขนาดตามที่ต้องการได้มากน้อย หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จแล้วโดยจะเติมน้ำเกลือครั้งละ 50 cc จนได้ขนาดที่ต้องการหลังจากได้ขนาดที่ต้องการแล้วก็จะผ่าตัดเอาพอร์ตและสายน้ำเกลือออก
  2. ถุงน้ำเกลือแบบที่มีการเติมน้ำเกลือก่อนใส่ (Prefilled) เป็นชนิดที่เติมน้ำเกลือมาแล้วจากผู้ผลิตข้อดีคือ
    มีความนิ่มและเป็นธรรมชาติเหมือนกับถุงเจล และเชื่อว่ามีโอกาสที่จะมีปัญหาเรื่องถุงแฟบ จากการรั่วซึมน้อยกว่าแบบที่เติมน้ำเกลือภายหลัง แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป

ปัจจุบันถุงน้ำเกลือมีการผลิตทั้งทรงธรรมชาติและทรงสูง

สรุป

ข้อเสีย

  1. มักเกิดปัญหาเต้านมรั่วและแฟบได้บ่อยกว่าถุงเจล แต่ร่างกายสามารถดูดซึมน้ำเกลือได้โดยไม่เป็นอันตรายปัญหาที่เกิดขึ้นคือ หน้าอกจะแฟบลงหลังการรั่วซึม ทำให้ต้องแก้ไขโดยการผ่าตัดใหม่
  2. คลำได้รอยย่นของถุงเป็นเพราะน้ำเกลือซึ่งสั่นไหวไปมาภายในถุงทำให้ผิวหนังด้านล่างเกิดรอยย่นและมักเกิดกับผู้หญิงผอมบาง
  3. กระเพื่อมได้ยินเสียง หรือรู้สึกว่าเต้านมกำลังกระเพื่อม โดยเฉพาะถ้าขณะผ่าตัดหรือไล่อากาศไม่ดีโดยที่คนอื่นไม่รู้เรื่องด้วย ซึ่งอาการนี้จะค่อยๆดีขึ้นเอง
  4. ความนิ่มไม่เหมือนกับเนื้อเต้านมทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ

ข้อดี

  1. ภายในบรรจุน้ำเกลือไม่เป็นสิ่งแปลกปลอมถ้ามีการรั่วร่างกายจะดูดซึมได้โดยไม่เกิดอันตราย
  2. ระหว่างผ่าตัด ถ้าถุงมีขนาดเล็กกว่าที่ควร สามารถเติมน้ำเกลือเพิ่มได้ทำให้สามารถปรับขนาดให้เพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย

การเติมน้ำเกลือในถุงอาจเติมมากหรือเติมน้อยกว่าขนาดของถุง โดยถุงที่มาจากบริษัทจะระบุขนาดซีซีของ น้ำเกลือที่ควรจะเติม ตัวอย่างเช่น ถุงขนาด 300 cc อาจเติมน้ำเกลือได้ 325 cc  325 cc เป็นปริมาณมากที่สุดที่ถุงรับได้ การเติมน้ำเกลือมากกว่าขนาดที่ระบุกเล็กน้อยจะทำให้เต้านมมีลักษณะตึงขึ้น และขนาดไม่เปลี่ยนแปลง การเติมน้ำเกลือมากกว่าปกติอาจทำให้สามารถคลำขอบถุงหรือรอยพับได้ชัดเจนขึ้น

2. ถุงซิลิโคนเจล(Silicone gel implant)

ถุงซิลิโคนเจล เป็นถุงเต้านมที่มีความนิยมใช้กันมากทั้งในประเทศไทย, ยุโรป และอเมริกาใต้ ลักษณะของถุงภายนอกจะเป็นแบบซิลิโคนแข็งเช่นเดียวกับถุงน้ำเกลือ แต่ภายในบรรจุสารที่เป็นซิลิโคนเหลว ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่าลักษณะของถุงน้ำเกลือ โดยที่ถุงเจลจะมีการบรรจุเจลมาจากผู้ผลิตแล้วในขนาดต่างๆกัน เวลาใช้ก็จะใส่ทั้งถุงที่บรรจุแล้วผ่านแผลผ่าตัดไปเลย ในประเทศไทยมีการนำถุงซิลิโคนเจลมาใช้กันมาก โดยอาจจะใช้มากกว่าถุงน้ำเกลือ
ในที่นี้จะมาทำความรู้จักกับสารซิลิโคนกันก่อน ซิลิโคนเป็นสารเคมี ที่ส่วนผสมเป็นหินและทรายเมื่อนำมาทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและคาร์บอนจะกลายเป็นซิลิโคน โดยที่สามารถผลิตเป็นทั้งซิลิโคนเหลว(โมเลกุลต่ำ) ซิลิโคนเจล(โมเลกุลปานกลาง) และซิลิโคนแข็ง(โมเลกุลสูง) ซึ่งนำมาใช้ผลิตส่วนต่างๆมากมายที่ใช้ร่างกาย เช่น ลิ้นหัวใจ ข้อเข่าเทียม ซิลิโคนมีการนำมาผลิตสารที่ใช้ทั่วร่างกาย

ในปัจจุบันผู้ผลิต(mentor และ Inamed) ถุงซิลิโคนได้พัฒนาเปลือกถุงให้มีความหนาขึ้นเป็น 3 ชั้นทำให้ช่วยลดปัญหาการรั่วซึมของเจลที่อยู่ภายใน แต่การที่ผิวของถุงหนาขึ้นก็ทำให้ความรู้สึกจากการสัมผัสไม่นิ่มเหมือนถุงสมัยก่อนแต่ก็มีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะที่ทราบกันตั้งแต่สมัยแรกๆที่ใช้ ว่าเกิดการรั่วซึม (gel -bleed) เป็นปัญหาที่พบได้ และก็เกี่ยวกับการเกิดพังพืดแข็งในร่างกายภายหลังแต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ถึงอย่างไรถุงซิลิโคนแบบใหม่ที่มีผนังหนาขึ้นก็ยังมีความนุ่ม และถุงเป็นธรรมชาติเวลาสัมผัสอยู่มาก จากการที่ถุงเจล เป็นถุงที่มีการบรรจุซิลิโคนเจลมาจากผู้ผลิต แล้วทำให้หลังผ่าตัดต้องเปิดแผลใหญ่กว่าถุงน้ำเกลือ ความใหญ่ของแผลก็ขึ้นอยู่กับขนาดของถุงที่เลือก โดยทั่วไปถุงผิวทรายมักต้องเปิดแผลใหญ่กว่าผิวเรียบ เนื่องจากผิวทรายจะมีเปลือกถุงหนากว่า และการที่เป็นผิวทรายทำให้ใส่ผ่านแผลผ่าตัดได้ยากกว่า

ในระยะแรกที่มีการใช้ซิลิโคนเจลมีการศึกษาระยะเวลาการใช้น้อยมาก ทำให้เราไม่ทราบถึงผลข้างเคียง
ของซิลิโคนเจล สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐได้ห้ามไม่ให้มีการใช้ซิลิโคนเจล ตั้งแต่ปี 2535 ในการผ่าตัดเสริมหน้าอกทั่วไป คนไข้ในอเมริกาเฉพาะบางกรณีเช่นเป็นมะเร็งเต้านม มีหน้าอกไม่เท่ากันตั้งแต่กำเนิดจึงจะใช้ได้ หลังจากที่เลิกใช้ถุงเจลมา 15 ปี ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2549 ในอเมริกา ได้มีการอนุญาต ให้ใช้ซิลิโคนเจลใหม่เพื่อการผ่าตัดเสริมหน้าอก ในคนทั่วไป ตั้งแต่อายุ 22 ปี ขึ้นไป แต่อาจต้องมีการควบคุมและติดตามผลการผ่าตัดในระยะเวลา 10 ปี ในคนไข้ 40,000 คน การที่องค์การอาหารและยาของอเมริกายินยอมให้ใช้ถุงเจลได้อีกเนื่องจาก

การศึกษาผลจากการใช้ถุงเจลในช่วงระยะเวลา 10 ปีจนถึงปัจจุบัน การใส่ถุงเจลไม่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมและโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ
ในที่นี้จะกล่าวถึงถุงที่มีลักษณะเฉพาะบางชนิด

3. ถุงเบคเกอร์(Becker’s) คือถุงเจลที่ขยายขนาดได้โดยน้ำเกลือด้านใน

 

 

 

 

เบคเกอร์เป็นถุงเต้านม ที่มีลักษณะผิว 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นเจล  และชั้นในเป็นน้ำเกลือ โดยบริษัทเมนเตอร์เป็นผู้ผลิต โดยส่วนของชั้นนอกเป็นเจลจะเป็นส่วนที่ไม่สามารถขยายได้ชั้นในจะมีสายต่อเพื่อใส่น้ำเกลือให้ขยายขนาดออกได้ ถุงเบคเกอร์มีการผลิตเป็น 2 แบบ คือ  

  1. แบบคลาสสิค (Classic Becker) ประกอบด้วยเจล 25 % อยู่ด้านนอกและน้ำเกลือ 75 % อยู่ด้านใน
  2. แบบเบคเกอร์50 (Becker 50) ประกอบด้วยเจล 50 % อยู่ด้านนอกและน้ำเกลือ 50 % อยู่ด้านใน

สำหรับรุ่นคลาสสิค ปกติจะใช้สำหรับเสริมหน้าอกในผู้ที่ตัดมะเร็งเต้านมออก เนื่องจากหลังตัดหน้าอกไปจะไม่สามารถใส่ถุงเต้านมขนาดใหญ่มากได้ เนื่องแผลเป็นจากการตัดเต้านมค่อนข้างตึงจึงต้องใช้ถุงที่สามารถขยายขนาดได้ โดยแพทย์จะผ่าตัดใส่ถุงซิลิโคนโดยก่อนแล้ว นัดมาฉีดน้ำเกลือขยายขนาดอาทิตย์ละ 50 cc จนได้ขนาดที่ต้องการแล้วจึงผ่าตัดเอาแป้นที่ใช้ฉีดน้ำออกเจลที่อยู่ด้านนอกของถุงเบคเกอร์ ช่วยให้รู้สึกเป็นธรรมชาติและช่วยลดการมองเห็นขอบในของถุงโดยเฉพาะตำแหน่งที่ผิวหนังบาง

โดยทั่วไปถุงเบคเกอร์เป็นถุงที่ไม่ได้ใช้ในการเสริมหน้าอกเพื่อความสวยงามแต่ใช้สำหรับผ่าตัดเสริมหน้าอกในคนไข้ที่ผ่าตัดมะเร็งเต้านม เพราะต้องมีการขยายถุงหลายครั้งและตัวถุงเต้านมชนิดนี้มีราคาแพงกว่าถุงแบบธรรมดาหลายเท่า

ถุงเจลที่มีความหนาแน่นสูง(Cohesive gel)
ประมาณ 15 ปี ก่อนได้มีการพัฒนา เจลที่บรรจุในถุงให้มีความหนาแน่นสูงขึ้นเพื่อที่ถ้ามีการรั่วซึมของเปลือกถุงซิลิโคน เจลชนิดนี้จะไม่ไหลออกมา จุดมุ่งหมายของการผลิตเจลที่มีความหนาแน่น เพื่อให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น และให้ถุงมีรูปร่างเหมือนเดิมตลอดเวลาที่ใส่ในร่างกาย ถ้ามีการแตกรั่วของถุงเจลก็มีการเกาะตัวกันไม่ไหลออกมาข้างนอก

ลักษณะเจลนี้จะมีสารเหมือนหมากฝรั่งจะมีการคงรูปขึ้นได้แต่เวลาสัมผัสก็ยังคงมีความนิ่ม

ข้อดี  ของชนิดนี้คือ

  1. รูปร่างเจลชนิดนี้จะช่วยให้ถุงซิลิโคนคงรูปร่างทรงกลม และไม่เปลี่ยนรูปร่างเวลาเปลี่ยนท่ากรณีถุงน้ำเกลือ หรือถุงเจลธรรมดาเวลายืนส่วนน้ำ หรือเจลจะไหลลงล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้รูปร่างของถุงเปลี่ยนไปและเกิดรอยพับได้
  2. การคลำได้รอยพับของถุงเนื่องจากสารที่อยู่ภายในไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่งตามแรงโน้มถ่วงของโลก การพับของถุงก็มักไม่ค่อยพบ
  3. การรั่วของเจล เนื่องจากมีการคงตัวของเจลทำให้การรั่วไปยังภายนอกเปลือกถุงมีน้อยกว่า
  4. การเกิดพังพืดหดรัด พบน้อยกว่าถุงเจลธรรมดาเพราะมีการไหลของเจลออกนอกถุงน้อยกว่า

ข้อเสีย 

  1. รูปร่างการที่เจลมีการคงตัวรูปร่างที่ได้ขณะที่ยืนก็จะเป็นรูปร่างกลม และส่วนบนของหน้าอกก็จะคงตัวอยู่แตกต่างกับเจลแบบเดิม ที่เวลายืนเจลจะไหลลงด้านล่างทำให้เต้านมมีลักษณะคล้อยลง
  2. ความรู้สึกจะไม่รู้สึกนิ่มเท่าเจลธรรมดาแต่ยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่เหมือนกับเจลธรรมดา
  3. ขนาดแผลเนื่องจากที่เจลไม่มีการเปลี่ยนรูปร่างการใส่ถุงผ่านแผลขนาดเล็กจะทำได้ยากดังนั้นอาจต้องใช้แผลที่ใหญ่กว่า
  4. การหมุน ถุงเจลที่เป็นทรงหยดน้ำด้านล่างก็จะนูนกว่าด้านบนการหมุนของถุงจะทำให้เต้านมมีรูปร่างผิดปกติกรณีที่ต้องระมัดระวังการหมุน ในช่วงที่ทำผ่าตัดถ้าหลังผ่าตัดมีการหมุนแก้ไขโดยเปลี่ยนเป็นถุงกลม

ประโยชน์หลักของเจลหนาแน่นสูงคือการคงรูปของเจลที่อยู่ภายในทำให้ไม่เกิดการพับของเปลือกถุง

ทำให้โอกาสที่ถุงจะมีการฉีกขาดมีน้อย ในปัจจุบันเปลือกถุงมีลักษณะที่หนามากดังนั้นการรั่วซึมของเจลในถุงมีน้อยมาก แต่การใช้เจล แบบหนาแน่นสูงก็มีโอกาสจะรั่วซึมได้น้อยลงอีก เจลชนิดนี้ช่วยทำให้รูปร่างของเต้านมหลังผ่าตัดมีรูปร่าง คงรูปไม่เปลี่ยนแปลงและดูเป็นธรรมชาติตลอดเวลา

สำหรับเจลชนิดนี้ สามารถช่วยให้ถุงทรงหยดน้ำคงรูปร่างได้ดี โดยทั่วไปธรรมชาติของเต้านม จะมีเนื้อนมมากบริเวณด้านล่างโดยที่ส่วนด้านบนจะน้อยกว่า ถุงทรงหยดน้ำมีรูปร่างเหมือนเต้านมธรรมชาติ ที่ว่ามีการไล่ระดับความหนาของถุง โดยถุงจะมีลักษณะบาง ดังนั้นบนๆแล้วมีรูปร่างหนาขึ้นมากในระดับล่างๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเจลชนิดหนาแน่นช่วยให้ถุงทรงหยดน้ำคงรูปได้ดีกว่าเจลธรรมดา โดยปกติถุงทรงหยดน้ำจะทำเป็นผิวทรายเท่านั้นเพื่อให้ถุงไม่เคลื่อนไปมาหรือหมุนได้

  • สำหรับถุงชนิดกลม เวลานอนถุงจะมีรูปร่างกลมถ้าเป็นเจลธรรมดาเวลายืนเจลจะไหลลงล่าง ทำให้ส่วนบนของถุงบางลง ทำให้หน้าอกเวลายืนจะเป็นหน้าอกคล้อยๆลงดูเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าใช้เจลชนิดใหม่เวลายืนเจลจะไม่ไหลลงล่างทำให้ส่วนบนของหน้าอกยังคงนูนเหมือนในท่านอน ทำให้เนินอกด้านบนยังคงนูนอยู่เมื่อเทียบกับเจลธรรมดาที่แฟบลง
  • การใช้ถุงเจลหนาแน่น แล้วมีการรั่วหรือการฉีกขาดของถุง เจลที่อยู่ภายในจะไม่รั่วออกไปมากทำให้ไม่สามารถตรวจได้ชัดว่ามีการรั่วหรือไม่ การตรวจอาจต้องทำ แมมโมแกรม หรือ MRI
  • การผลิตเจลในแต่ละบริษัทจะผลิตออกมาหลายรูปทรง และมีข้อที่เสียแตกต่างกัน โดยจะมีตั้งแต่เจลเหลวใสจนถึงเจลที่หนาแน่นมาก แต่จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันแล้วแต่บริษัทผู้ผลิตโดย ทั่วๆไปจะแบ่งออกเป็น
    1. เจลธรรมดา (Silicone gel)
    2. เจลที่มีความหนาแน่นสูง (Cohesive gel)
    3. เจลที่มีความหนาแน่นสูงมาก (High cohesive gel)
       

แต่ละบริษัทจะมีการผลิตชนิดของเจลและเรียกชื่อเจล แตกต่างกัน เช่น

  • PIP จะมีการผลิตเจลเป็นเจลหนาแน่นสูงเท่านั้น ไม่มีเจลธรรมดาแล้ว
  • Mentorเจลที่ใช้ทั้งหมดเป็นเจล ทั้งหมดที่นำมา จำหน่ายเป็นเจลหนาแน่นสูง ทั้งหมดโดยแยกเป็นเกรดต่างๆ ตั้งแต่ เกรด 1 ถึงเกรด 3  โดยที่เกรด 3 จะแข็งที่สุด
    •  
      •  1.cohesive 1 ใช้กับถุงกลม
         2.cohesive 2  ใช้กับถุงกลม
         3.cohesive 3  ใช้กับหยดน้ำ
         -Inamed หรือ Allegan มีการผลิตทำเจลธรรมดาและเจลแบบหนาแน่น
         -Sebbin   บริษัท นี้มีการทำเจล ธรรมดา , เจลที่มีความหนาแน่นสูง , เจลที่มีความหนาแน่นสูงมาก
         -Eurosilicon มีทั้งเจลธรรมดาและเจลที่มีความหนาแน่นสูง
         สารอื่นๆที่มีการนำมาใช้ในถุงซิลิโคนแต่ไม่มีการแพร่หลายได้แก่
        น้ำมันพืช (Soybean oil) จุดมุ่งหมายที่มีการนำมาใช้ให้สามารถเอกซเรย์ผ่านได้ เพราะซิลิโคนเจลจะมองภาพเอกซเรย์ไม่ได้ การใช้น้ำมันพืชจะทำให้สามารถอ่านผลแมมโมแกรมได้ดีขึ้น และถ้ามีการรั่วน้ำมันพืชจะสามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ น้ำมันพืชที่ใช้เป็นน้ำมันพืชทางการแพทย์ที่ใช้เป็นตัวนำยาในการฉีดเข้ากล้ามเนื้อจึงค่อนข้างปลอดภัย
         แต่จากการที่เริ่มนำมาใช้เสริมหน้าอกพบว่ามีคนไข้ที่มีการแพ้ โดยมักจะบวมแดงที่หน้าอกและหลังจากเอาถุงออกแล้วคนไข้มีอาการดีขึ้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวถุงน้ำมันพืชจะไม่นิยมนำมาใช้
         -ไฮโดรเจลมีลักษณะความนิ่มเหมือนเนื้อหน้าอกมากและถ้ามีรั่วซึมจะดูดซึมได้โดยร่างกายและขับออกทางปัสสาวะ ปัจจุบันมีการผลิต โดยบริษัท PIP แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กัน
         ในที่นี้จะกล่าวรายละเอียดเรื่องขนาดและรูปร่างของถุงของแต่ละบริษัทเข้ามาใช้
         

      1.Mentor

    • 2.Inamed/Allegan

    • 3.PIP

    • 4.Sebbin

    • 5.Silimed