การแก้ไขพังผืดหดรัด

การแก้ไขพังผืดหดรัด

 การเกิดพังพืดหดรัด
 เมื่อมีการใส่ถุงเต้านมเทียมเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจะมีการสร้างพังพืดรอบๆโดยมีลักษณะเหมือนแคปซูล พบโดยที่พังพืดจะเป็นแคปซูล แยกถุงที่อยู่ภายในกับสิ่งที่อยู่ภายนอก เป็นกลไกการป้องกันตัวเองของร่างกาย ที่ จะมีความจำสิ่งแปลกปลอมและสารในร่างกายและจะสร้างพังพืดมารอบสิ่งแปลกปลอมไว้ในกรณีของเต้านม ถุงเต้านมจะถูกล้อมรอบพังพืดทุกคน หลังการผ่าตัดถ้าพังพืด มีขนาดใหญ่กว่าถุงเต้านม เต้านมก็จะนิ่มและมีรูปร่างเป็นธรรมชาติ บางครั้งพังพืดมีการหดรัดและมีความหนาเพิ่มขึ้น ทำให้เต้านมโดยรวมมีลักษณะแข็งขึ้นและพังพืดหดตัวมากและจะทำให้มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ผิดกับเต้านมธรรมชาติ

i
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 พังพืดหดรัดเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดของการผ่าตัดเสริมหน้าอก สามารถเกิดเมื่อไหร่ก็ได้หลังผ่าตัด แต่โดยทั่วไปถ้าจะเกิดขึ้นมักเกิดภายใน 1 ปี หลังการผ่าตัดโดยทั่วไปขณะที่ผ่าตัดแพทย์จะเปิดช่องว่างในเต้านมเพื่อวางถุงเต้านมในระหว่างการหาย ของแผลภายในก็จะมีพังพืดเกิดขึ้นโดยรอบของถุงเต้านม ในภาวะปกติ ถ้าไม่มีการหดตัวของพังพืดเต้านมจะดูเป็นธรรมชาติและนิ่ม แต่ถ้าเกิดการหดรัดแคปซูลก็จะหดตัวลงและรัดถุงซิลิโคนให้มีรูปร่างผิดปกติมีผลให้เวลาคลำหน้าอก จะแข็งขึ้นไม่นิ่มเหมือนกับแรกๆหลังผ่าตัด และอาจทำให้รูปร่างของถุงซิลิโคนบิดเบี้ยวผิดปกติ ถ้ามีการหดรัดมากขึ้น พังพืดจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็งเห็นได้จากภายนอกโดยไม่ต้องสัมผัส การแข็งขึ้นของเต้านม ไม่ได้เกิดจากถุงเต้านมแข็งขึ้น แต่เป็นผลจากพังพืดหดรัด และพังพืดแข็งขึ้น ถ้ามีการเอาถุงเต้านมออก หลังจากเกิดพังพืดรัดเต้านม ก็จะมีลักษณะนิ่มเหมือนเดิม

 สาเหตุของพังพืดหดรัดไม่พบแน่ชัดแต่มักเกี่ยวข้องต่างๆคือ
1.การปนเปื้อนของเชื้อโรคบริเวณผิวของถุงเต้านมอาจทำให้เกิดการอักเสบและมีการเกิดพังพืดตามมา
2.ตำแหน่งวางถุงไว้เหนือกล้ามเนื้อจะมีโอกาสเกิดพังพืดมากกว่าใต้กล้ามเนื้อ
3.การติดเชื้อถ้ามีหลังผ่าตัดโอกาสเกิดพังพืดหดรัดจะมีมากกว่า
4.น้ำเหลืองคั่งในคนที่หลังผ่าตัดมีน้ำเหลืองคั่งมากก็จะมีโอกาสเกิดพังพืดหดรัดได้มาก
5.ภาวะเลือดคั่ง ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดพังพืดตามมา
6.การสูบบุหรี่ทำให้แผลหายช้า และเกิดการอักเสบรอบๆถุงเต้านม

ระดับของการเกิดพังพืด การเกิดพังพืดหน้าอก มี 4 ระดับ
ระดับที่ 1. –เต้านมคงนิ่มและดูเป็นธรรมชาติตามปกติ
ระดับที่ 2. – เต้านมแข็งขึ้นเล็กน้อยแต่ยังดูเป็นธรรมชาติ
ระดับที่ 3. –เต้านมแข็งขึ้นและเริ่มมีรูปร่างผิดปกติ
ระดับที่ 4. –เต้านมแข็งและรูปร่างผิดปกติอาจมีอาการปวดและรู้สึกไม่สบาย
 
 

การแก้ไขพังพืดหดรัด
1.การนวดภายนอกเพื่อแก้ไขพังพืด ( Closed Capsulotomy ) หรือที่ใช้ศัพท์ในประเทศไทยว่าการปอปนมเป็นการบีบเต้านมอย่างแรงเพื่อให้พังพืดมีการฉีกขาดและมีช่องว่างเพิ่มขึ้น วิธีการนี้ทำโดยไม่ฉีดยาชาและมีความเจ็บปวดมากในปัจจุบันไม่แนะนำให้ทำ เนื่องจากอาจทำให้ถุงเต้านมแตกได้และผลการรักษาได้ผลไม่ค่อยดี
2.ผ่าตัดแก้ไขพังพืด ( Open Capsulotomy ) ทำการผ่าตัด เข้าไปในแคปซูลและเปิดขยายช่องโดยผ่านพังพืดเดิมในช่องว่างกว้างขึ้นเป็นการผ่าตัดขยายช่องให้กว้างขึ้นแต่ไม่ได้ผ่าตัดเอาเนื้อ พังพืดออก การผ่าตัดทำโดยเปิดแผลผ่าน แผลใต้ราวนมหรือหัวนมจะง่ายที่สุดแล้วแต่ประสบการณ์ของแพทย์ บางครั้งอาจทำโดยที่แผลรักแร้ได้ แต่ค่อนข้างยากและต้องใช้กล้องผ่าตัดร่วมด้วย
3.การตัดพังพืดออก ( Open Copsuhectomy )
เป็นการผ่าตัดเพื่อเลาะพังพืดออกเป็นการผ่าตัดที่ได้ผลดีที่สุดแต่การผ่าตัดใช้เวลาค่อนข้างนานและยุ่งยากกว่าวิธีที่ 2 ถ้าเอาพังพืดออกแล้วใส่ถุงเข้าไปใหม่ก็จะเกิดพังพืดใหม่รอบๆถุงใหม่ที่ใส่เข้าไป

การป้องกันการเกิดพังพืดหดรัด
การเกิดพังพืดหดรัดไม่สามารถป้องกันได้เพราะไม่มีสาเหตุที่แน่นอนแต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดย
1.เลือกผ่าตัดใต้กล้ามเนื้อ แทนที่จะผ่าตัดเหนือกล้ามเนื้อเพราะการเสริมในระดับเหนือกล้ามเนื้อถุงเต้านมจะสัมผัสกับท่อน้ำนมจะมีโอกาสปนเปื้อนแบคทีเรียได้ การเสริมใต้กล้ามเนื้อทำให้ถุงไม่สัมผัสกับท่อน้ำนมและการที่กล้ามเนื้อหดขยายตัวเรื่อยๆก็จะเป็นการนวดพังพืดไปในตัวจึงช่วยลดอุบัติการณ์ในการเกิดพังพืดหดรัด
2.เลือกใช้ถุงผิวทราย ถุงผิวทรายถูกออกแบบมาเพื่อลดอัตราการเกิดพังพืดหดรัดอย่างไรก็ตามมีการศึกษาในหลายๆคลินิก พบว่าถ้าใส่ถุงใต้กล้ามเนื้ออัตราการเกิดพังพืดไม่แตกต่างจากถุงผิวเรียบ
3.ถุงซิลิโคน โดยเฉพาะผิวเรียบเคยมีความเชื่อว่าเกิดพังพืดมากกว่าถุงน้ำเกลือ
4.การนวดหลังผ่าตัดลดการเกิดพังพืดได้
5.การใส่บรากระชับหน้าอก
6.ออกกำลังกายหรือนอนในท่าที่มีผลต่อการนวดเต้านม เช่น การนอนคว่ำ บนพื้นแข็งๆนอนคว่ำให้หน้าอกทับหนังสือแข็งๆการนอนคว่ำให้น้ำหนักกดที่ถุงเต้านมเทียมทำให้พังพืดยืดออก
ปัจจุบันมียาชนิดที่มีการนำมาใช้ป้องกันและรักษาพังพืดหดรัดแต่ผลการรักษายังไม่แน่นอน เช่นวิตามิน E
Accutate หรือยาปฏิชีวนะบางชนิด การใช้ อัลตร้าซาวน์ อาจช่วยในเรื่องการลดการเกิดพังพืดหดรัดโดยที่อัลตร้าซาวน์ช่วยลดอาการบวม ลดการอักเสบช่วยให้แผลหายเร็ว ดังนั้นจึงลดการเกิดใหม่ของพังพืดสามารถใช้ได้ทั้งก่อนและหลังผ่าตัดแก้ไขการเกิดพังพืด