ตำแหน่งของถุงเต้านม

ตำแหน่งของถุงเต้านม

ตำแหน่งถุงเต้านม

           -ผลของการผ่าตัดเสริมหน้าอกส่วนหนึ่งขึ้นกับการวางถุงเต้านมไว้บริเวณใต้หรือเหนือกล้ามเนื้อหน้าอก ด้วย การวางถุงไว้ใต้กล้ามเนื้ออาจวางไว้ใต้กล้ามเนื้อบางส่วนหรือใต้กล้ามเนื้อทั้งหมดโดยทั่วไปอาจแบ่งตำแหน่ง

ที่วางถุงซิลิโคนได้ดังนี้

     1.เหนือกล้ามเนื้อ (SUBGLANDULAR PLACEMENT)

     2.ใต้กล้ามเนื้อบางส่วน(PARTIALLY SUBMUSCULAR)

     3.ใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด(COMPLETELY SUBMUSCULAR)

           1.เหนือกล้ามเนื้อ (SUBGLANDULAR PLACEMENT)เป็นการใส่ถุงเต้านมที่ระดับใต้เนื้อเต้านมโดยที่ถุงซิลิโคนวางอยู่เหนือกล้ามเนื้อ การผ่าตัดไม่ยุ่งยากจึงมีผลข้างเคียงน้อยกว่าและหายเร็วกว่าเหมาะสำหรับสาวนักกีฬาหรือสาวที่มีไขมันหรือเนื้อเหยื่อเต้านมเพียงพอจะเป็นกันชนระหว่างผิวเนื้อกับเต้านมเทียมทำให้ได้เต้านมที่สวยงามเป็นธรรมชาติ แต่มีข้อเสียคือ เสี่ยงต่อการเกิดพังพืดได้มากกว่าและยังตรวจแมมโมแกรมได้ยากกว่า การผ่าตัดเหนือกล้ามเนื้อจะทำให้รูปร่างของเต้านมมีรูปทรงหลังผ่าตัดเต้านมเป็นทรงกลม ซึ่งคนไข้บางคนก็จะเป็นลักษณะเต้านมแบบนี้สวยและดูเป็นธรรมชาติ แต่มีโอกาสจะเกิดพังพืดแข็งได้มากกว่า

  การผ่าตัดเสริมหน้าอกโดยวางตำแหน่งถุงเต้านมเทียมเหนือกล้ามเนื้อ

 ข้อดี

                                ข้อเสีย

-ไม่มีการเคลื่อนตัวของถุงเต้านมเทียมขณะที่มีการขยับกล้ามเนื้อ

-ในรายที่ผิวหนังบางมีโอกาสคลำพบขอบเต้านมเทียมได้สูงกว่า

-เจ็บน้อยกว่า(ในระยะแรก)ระยะพักฟื้นสั้นกว่า

-มองเห็นขอบเต้านมเทียมได้มากกว่า

-มองดูเป็นธรรมชาติมากกว่าถ้ามีเนื้อนมมากพอ

-ตัวเต้านมเทียมมีโอกาสคล้อยได้มากกว่า

-การผ่าตัดทำได้ง่าย

-ทำให้เต้านมจริงถูกเบียดได้มากกว่าหรือหดแฟบได้มากกว่า

-กรณีที่เต้านมคล้อยไม่มากอาจช่วยแก้ปัญหาเต้านมคล้อยทำให้ไม่ต้องทำการผ่าตัดกระชับเต้านม

-ถ้าเกิดพังพืดรัดจะมองเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะคนที่มีผิวหนังบาง

-สามารถใส่ถุงขนาดใหญ่มากๆได้

-อ่านแมมโมแกรมได้ยากแม้จะใช้เทคนิคพิเศษ

-การผ่าตัดแก้ไขทำได้ง่ายกว่าใต้กล้ามเนื้อ

-ถ้ามีรอยพับของถุงเต้านมจะมองเห็นและคลำได้ชัดเจนกว่าโดยเฉพาะถุงที่เป็นผิวทราย

 

-โอกาสเกิดพังพืดหดรัดมีมากกว่า

 

-มีโอกาสที่เต้านมจะเคลื่อนที่ลงล่างได้มากกว่า(Bottoming)ทำให้เกิดลักษณะเต้านมคล้อยมาก

 

   
           2.ใต้กล้ามเนื้อบางส่วน(Portialy Submuscular) เป็นการวางถุงเต้านมไว้ใต้กล้ามเนื้อหน้าอกมัดใหญ่มัดเดียวโดยที่จะมีบางส่วนของถุงไม่ถูกปิดทับด้วยกล้ามเนื้อหน้าอกได้แก่บริเวณด้านล่างและด้านข้างของถุงเต้านมการผ่าตัดอาจทำโดยผ่านแผลหัวนมหรือใต้ราวนมโดยผ่าตัดผ่านกล้ามเนื้อและพังพืดบริเวณส่วนล่างของกล้ามเนื้อเพื่อเข้าไปเปิดช่องว่างใต้กล้ามเนื้อ

  การเสริมใต้กล้ามเนื้อมักไม่เหมาะกับผู้ที่มีเนื้อหน้าอกเล็กน้อยเพราะกล้ามเนื้อจะช่วยเป็นผนังด้านนอกอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะถึงถุงเต้านมช่วยให้มีโอกาสคลำขอบถุงได้น้อยลงแต่หลังผ่าตัดจะบวมและเจ็บปวดอยู่นานการอยู่ทรงของทรงหน้าอกหลังการผ่าตัดใช้เวลานานกว่าการผ่าตัดเหนือกล้ามเนื้อโดยที่อาจใช้เวลา 2-3 เดือน โดยกล้ามเนื้อหน้าอกจะค่อยๆยืดจนกระทั่งได้ทรงที่ต้องการ

 

ข้อดี

ข้อเสีย

-มีโอกาสคลำพบถุงเต้านมเทียมได้น้อยกว่า

-มีการเคลื่อนตัวของถุงเต้านมเทียมได้ขณะที่มีการขยับกล้ามเนื้อ

-มองเห็นขอบเต้านมเทียมได้น้อยกว่า

-เจ็บมากกว่า(ในระยะแรก)

-พบรอยย่นน้อยกว่า

-ใต้ราวนมมองเห็นขอบเต้านมไม่ชัด

-ตัวเต้านมเทียมมีโอกาสคล้อยได้น้อยกว่า

-หน้าอกจะดูห่างกว่า

-ทำให้เต้านมจริงถูกเบียดน้อยกว่าหรือหดแฟบได้น้อยกว่า

-มีโอกาสที่เต้านมจริงจะไม่คล้อยตัวทำให้ มองดูเป็นธรรมชาติ

-ถ้ามีปัญหาเรื่องพังพืดรัดจะมองเห็นไม่ค่อยชัด

-ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่าแบบเหนือกล้ามเนื้อ

-ไม่มีผลต่อการทำ แมมโมแกรม

-เทคนิคการผ่าตัดยากกว่าเหนือกล้ามเนื้อ(ทำโดยเปิดทางปานนมหรือราวนม)

-ทรงเต้านมแม้จะดูไม่สวยเหมือนกับเหนือกล้ามเนื้อแต่ดูเป็นธรรมชาติเนื่องจากกล้ามขอบหน้าอกจะกดถุงซิลิโคนบริเวณด้านบนให้ดูแฟบลง ขอบเขตที่ส่วนล่างกล้ามเนื้อจะหนาน้อยกว่าส่วนบนทำให้เห็นลักษณะของถุงชัดเจนขึ้นเฉพาะส่วนล่างทำให้ลักษณะของเต้านมดูเป็นธรรมชาติ

-ส่วนล่างและด้านข้างไม่มีกล้ามเนื้อคลุมเพราะฉะนั้นส่วนล่างของถุงซิลิโคนจะอยู่ระดับเดียวกับการผ่าเหนือกล้ามเนื้อทำให้ด้านล่างของถุงซิลิโคนไม่มีการรองรับโดยกล้ามเนื้อทำให้ถุงมีโอกาสเลื่อนลงล่างได้และอาจคลำได้ขอบถุงบริเวณขอบล่างด้านข้างๆได้

-มักคลำไม่ได้รอยพับของถุงเต้านม(ยกเว้นถุงผิวทราย)

-ใช้เวลานานกว่าจะเข้าที่แต่จากหลังที่เข้าที่แล้วจะดูเป็นธรรมชาติมาก

-โอกาสเกิดพังพืดหดรัดน้อยกว่า

 

-โอกาสเกิดเต้านมยานลงในอนาคตน้อยกว่า

 

   

           3.ใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด(Completely Submuscular) การวางตำแหน่งถุงไว้ใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด เป็นการวางถุงเต้านมไว้ใต้กล้ามเนื้อสามมัดคือ ด้านบน และส่วนกลาง วางไว้ใต้กล้ามเนื้อหน้าอกมัดใหญ่ ด้านข้างของหน้าอกส่วนบนวางใต้กล้ามเนื้อด้านข้างของหน้าอก ส่วนด้านล่างวางไว้ใต้ส่วนบนของกล้ามเนื้อท้อง ดังนั้นถุงเต้านมจะถูกคลุมด้วยกล้ามเนื้อทุกด้าน (Rectus abdomininis และ Serratus anterior) กล้ามเนื้อทั้งสามมัดช่วยทำหน้าที่เป็นเปลที่รับถุงซิลิโคนป้องกันไม่ได้มีการเคลื่อนของถุงลงล่าง

                การผ่าตัดวางถุงใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด อาจทำได้ทั้งทางปานนม,ราวนม หรือรักแร้แต่การทำผ่าตัดทางรักแร้มีข้อดีที่กล้ามเนื้อส่วนล่างไม่มีการฉีกขาด

 

ข้อดี

ข้อเสีย

-มีโอกาสคลำรอยพับของถุงเต้านมเทียมน้อยมาก

-มีการเคลื่อนตัวของถุงเต้านมเทียมได้ขณะที่มีการขยับกล้ามเนื้อ

-มองเห็นขอบเต้านมเทียมได้น้อยกว่า

-เจ็บมากกว่า(ในระยะแรก)

-พบรอยย่นน้อยกว่า

-ใช้เวลานานกว่าจะเข้าที่แต่ถ้าเข้าที่แล้วจะเป็นธรรมชาติ

-ตัวเต้านมเทียมมีโอกาสคล้อยได้น้อยกว่า

-หน้าอกจะดูห่างกว่า

-ทำให้เต้านมจริงถูกเบียดน้อยกว่าหรือหดแฟบได้น้อยกว่า

-มีโอกาสที่เต้านมจริงจะไม่คล้อยตัวทำให้มองดูไม่เป็นธรรมชาติ

-ถ้ามีปัญหาเรื่องพังพืดรัดจะมองเห็นไม่ชัด

-ถ้าต้องการแก้ไขภายหลังทำได้ยาก

-เต้านมมีรูปทรงธรรมชาติเนื่องจากส่วนบนถูกกดโดยกล้ามเนื้อหนาๆขณะที่ส่วนล่างถูกกดโดยกล้ามเนื้อบางๆทำให้รูปทรงเต้านมเป็นธรรมชาติ

-เทคนิคค่อนข้างยาก(ถ้าลงแผลทางใต้ราวนมหรือหัวนม)

-ไม่มีรอยย่นของถุงเต้านม(ยกเว้นในผู้หญิงที่ผอมมากและใช้ถุงผิวทราย)

-ในกรณีที่เต้านมคล้อยมากและมีขนาดเต้านมใหญ่ไม่ควรเลือกการวางตำแหน่งนี้เพราะอาจทำเต้านมเป็นมีรูปร่างเป็นสองลอนโดยที่เต้านมคล้อยแต่มีขนาดใหญ่เฉพาะส่วนใต้กล้ามเนื้อ(Snoopy breast)

-โอกาสเกิดพังพืดหดรัดน้อยมาก

-ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่าโดยในช่วงแรกต้องพยายามลดการขยับแขนเนื่องจากการขยับแขนจะทำให้ถุงเต้านมเคลื่อนไปมาได้มาก

-ไม่มีผลต่อการอ่าน แมมโมแกรม

 

-โอกาสที่ถุงเต้านมจะเลื่อนลงลดน้อยลงมาก

 

-ใต้ราวนมมองเห็นขอบเต้านมไม่ชัด

 

-ลดโอกาสที่จะคลำขอบถุงได้  

 

  สรุปผลของแต่ละวิธี

 

 

เหนือกล้ามเนื้อ

ใต้กล้ามเนื้อบางส่วน

ใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด

การทำ แมมโมแกรม

มีผลต่อการอ่านแม้จะใช้เทคนิคพิเศษ

ไม่มีปัญหา

ไม่มีปัญหา

พังพืดหดรัด

สูง

ต่ำ

ต่ำ

โอกาสถุงพับงอ

สูง

ต่ำ

ต่ำ

รูปทรงที่ดูเป็นธรรมชาติ

 

เป็นธรรมชาติ

เป็นธรรมชาติ

ถุงซิลิโคนเลื่อนต่ำลง

พบบ่อย

พบบ่อย

ไม่มี

การแก้ไขเต้านมคล้อย

แก้ไขได้ถ้าเต้านมคล้อยน้อย

แก้ไขได้บ้างแต่อาจต้องทำการผ่าตัดกระชับเต้านมภายหลัง

แก้ไขได้บ้างโดยการยืดกล้ามเนื้อหน้าอกแต่อาจต้องทำการผ่าตัดกระชับหน้าอกต่อ

การคล้อยหลังผ่าตัด

พบได้บ่อยโดยเฉพาะคนที่ผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเต้านมยาน

พบน้อย

พบน้อย