ปรึกษาแพทย์

การปรึกษาแพทย์

  • Print

การปรึกษาแพทย์เป็นขั้นตอนแรกที่จะพูดคุยถึงปัญหาและความต้องการส่วนบุคคลของแต่ละคนกับแพทย์ที่จะทำผ่าตัดโดยขั้นตอนนี้ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากก่อนการผ่าตัด เพราะเป็นเวลาที่ต้องประเมินความต้องการโดยรวม ของคนไข้และประเมินลักษณะทางกายวิภาคของหน้าอกว่าจะสามารถผ่าตัดเพิ่มขนาดหรือเปลี่ยนแปลงให้ได้ตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ การปรึกษาก่อนการผ่าตัดช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกเทคนิคที่ใช้ผ่าตัดรวมถึงทราบปัญหาที่จะตามมาหลังการผ่าตัด ค่ะ

                เรื่องที่ต้องเตรียมตัว ก่อนปรึกษาแพทย์ไว้ก่อนคือ

                1.ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร และการให้นมบุตรโดยทั่วไปการตั้งครรภ์จนถึงคลอดจะมีผลให้เต้านมเปลี่ยนไปโดยเพิ่มขนาดขึ้น หลังการคลอดรายแรกๆ เต้านมจะมีขนาดใหญ่ แล้วหลังจากนั้นประมาณ  2-4 เดือน แล้วแต่บุคคลเต้านมจะมีขนาดเล็กลงและคล้อยลง ดังนั้นการผ่าตัดเสริมหน้าอกหลังการคลอดบุตรจึงควรรอให้ขนาดและรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงขนาดลงมาจนคงที่ก่อนจึงค่อยตัดสินใจทำหลังการคลอดบุตรในคนที่มีหน้าอกคล้อยมาก อาจต้องเลือกเทคนิคการผ่าตัดเหนือกล้ามเนื้อหรือทำ ร่วมกับการยกกระชับหน้าอก ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับลักษณะการคล้อยของหน้าอกแต่ละคน

                อนึ่งหลังจากผ่าตัดเสริมหน้าอกแนะนำว่ายังไม่ควรตั้งครรภ์ในช่วง 6 เดือนแรก

                2.ประวัติการผ่าตัด

    -ระหว่างดมยาสลบเคยมีปัญหาที่เกี่ยวกับการดมยาหรือไม่

    -ควรที่จะให้แพทย์ทราบถึงการผ่าตัดอื่นๆที่เคยผ่าตัดโดยเฉพาะการผ่าตัดบริเวณหน้าอก

                3.ยาที่ทานประจำ

    -ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการใช้ยาบางชนิดที่ใช้เป็นประจำ ยาบางชนิดมีผลต่อร่างกายในระยะยาว เช่น ยาที่ใช้รักษาไทรอยด์ ,ยากลุ่มสเตียลอยด์, ยารักษาโรคหัวใจ ยาบางชนิดอาจต้องหยุดใช้ก่อนผ่าตัดหรือยาบางชนิดอาจต้องแจ้งให้ วิสัญญีแพทย์ทราบเพื่อที่จะต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงระหว่างดมยาสลบ

    -ยาที่แนะนำให้หยุดก่อนการผ่าตัด 2 อาทิตย์ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่ม แอสไพรินหรือ บลูเฟน วิตามิน E สมุนไพรบางชนิด เช่น กระเทียม ใบแปะก๊วย

    -ยาบางชนิดมีผลต่อการดมยาสลบ เช่น ในกลุ่มยานอนหลับ หรือยาลดความอ้วน ยาขับปัสสาวะ

                4.โรคประจำตัวที่ต้องใช้ยาประจำ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

                5.ถ้ามีก้อนเนื้องอกหรือคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณเต้านม ควรรับการตรวจหรือผ่าตัดเพื่อพิสูจน์ ชิ้นเนื้อให้ทราบแน่ชัดก่อนทำการผ่าตัด ว่าชิ้นเนื้อไม่ได้เป็นเนื้อร้าย

    -ในบางรายถ้ามีข้อสงสัยในการตรวจร่างกายทั่วไป อาจต้องทำแมมโมแกรมก่อนการผ่าตัด

                6.ศึกษาชนิดของถุงซิลิโคนที่ใช้ก่อนพบแพทย์

                7.แผลผ่าตัดที่ชอบ แต่ไม่สามารถเลือกใช้ได้ทุกกรณี เช่น ถ้าต้องการใช้ถุงขนาดใหญ่อาจเข้าทางแผลหัวนมไม่ได้

                8.ขนาดที่ต้องการ อาจเตรียมตัวคร่าวๆเกี่ยวกับการเลือกขนาดมาจากบ้านโดยใช้ไรซ์เทส จะได้ขนาดคร่าวๆจะต้องใช้ขนาดใด
โดยทั่วไปคนทั่วไปวัดขนาดที่ต้องการตามขนาดของยกทรงเช่น ขนาด 32-40 หรือ 65-80 โดยเป็น คับ A, B, C แต่ในการผ่าตัดการวัดขนาดที่ต้องใช้จะวัดเป็น ซีซี
โดยการเลือกขนาดต้องคำนึงถึงระดับที่ใส่ในการเสริมด้วย (การเสริมในระดับใต้กล้ามเนื้อจะต้องเพิ่มขนาดประมาณ 15 %เพราะถุงซิลิโคนจะถูกกดลงโดยกล้ามเนื้อ)
ดังนั้นการวัดขนาดจะต้องอาศัยประสบการณ์และเทคนิคของแพทย์แต่ละท่าน หลังจากได้ขนาดที่ต้องการแล้วก็ต้องมาดูว่าเหมาะสมกับขนาดของหน้าอกหรือไม่ หรือขนาดใหญ่เกินไปหรือไม่โดยจะต้องเปรียบเทียบกับความกว้าง ยาว สูง ของเต้านมแต่ละแบบแต่ละทรงที่เลือกสำหรับผู้ที่เสริมใต้กล้ามเนื้อการใส่ถุงเต้านมที่ว่าจะใส่ใหญ่เท่าไรขึ้นอยู่กับการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อด้วย ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากก่อนการผ่าตัดโดยทั่วไปกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะรองรับถุงเต้านมขนาดใหญ่มากไม่ได้ แต่ถ้ากล้ามเนื้อที่มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อมากจะสามารถรองรับเต้านมขนาดใหญ่กว่าได้มาก เราจะสามารถบอกได้ชัดเจนว่ากล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้เพียงพอหรือไม่ ก็คือเวลาที่ผ่าตัด ดังนั้นบางครั้งการใส่ถุงใต้กล้ามเนื้ออาจต้องกำหนดขนาดสำรองไว้ด้วยว่าถ้าใส่ขนาดที่ต้องการไม่ได้จะใส่ขนาดเท่าไร

               โดยทั่วไปหน้าอกข้างซ้ายและข้างขวาจะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไม่มากก็น้อย ถ้าพูดถึงเรื่องขนาดเต้านมถ้ามีความแตกต่างกันไม่มากก็อาจเลือกถุงเต้านมขนาดเดียวกันได้ แต่ถ้าหน้าอกแต่ละข้างมีขนาดแตกต่างกันมากชัดเจนอาจต้องเลือกขนาดถุงที่ต่างกัน โดยที่หน้าอกข้างที่เล็กกว่าจะใส่ขนาดถุงเต้านมใหญ่กว่า
                โดยทั่วไปอาจใส่ได้ต่างกัน ตั้งแต่ 20-50 ซีซี ต้องทราบว่าในการเสริมหน้าอกการใส่ถุงเต้านมขนาดต่างกันเป็นเพียงการปรับขนาดเต้านมให้ใกล้เคียงกันแต่ขนาดเต้านมหลังผ่าตัดก็ยังต้องแตกต่างกันเล็กน้อยการใส่ถุงขนาดต่างกันไม่สามารถทำให้เต้านมมีขนาดเท่ากัน 100 % ได้

                9.เช็คตารางผ่าตัดกับแพทย์ ควรไม่เป็นช่วงที่ตรงกับเวลามีประจำเดือนหรือใกล้ และเดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ

                10.ถ้ามีปัญหาเต้านมคล้อยและต้องทำการผ่าตัดยกกระชับด้วย ควรปรึกษาเทคนิคการผ่าตัดรวมถึงแผลเป็นและควรจะทำการผ่าตัดยกกระชับพร้อมกันหรือทำภายหลัง

                11.ในกรณีที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง เช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาประจำว่าสามารถทำการผ่าตัดได้หรือไม่

                12.หลังจากปรึกษาเลือกขนาดแล้วแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย เพื่อดูความผิดปกติที่มีผลต่อผ่าตัดโดยเฉพาะ ความแตกต่างของเต้านมสองข้างในเรื่อง ขนาด รูปร่าง ระดับของราวนม ระดับของหัวนม ลักษณะของผิวหนังว่ามีความผิดปกติและมีความแตกต่างกันระหว่างสองข้างหรือไม่ รวมทั้งระบุส่วนใดสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด ส่วนใดไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด นอกจากนั้นยังต้องดูขนาดความกว้างของช่วงไหล่ รูปร่าง ของหน้าอก น้ำหนักและส่วนสูง ว่าเหมาะสมกับขนาดที่เลือกหรือไม่ในบางคนอาจมีความผิดปกติของกระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกเช่น ภาวะอกไก่หรืออกบุ๋ม ซึ่งอาจทำให้รูปร่างของหน้าอกหลังการเสริมมีความแตกต่างจากหน้าอกปกติ

                13.ถ้าคลำได้ก้อนที่เต้านมควรปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อวินิจฉัยก่อนการผ่าตัด ถ้าไม่ได้เป็นเนื้อร้ายจึงจะผ่าตัดเสริมหน้าอกได้ แต่ถ้าเป็นเนื้อร้ายไม่ควรทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก

                อนึ่งการทำแมมโมแกรมเป็นการตรวจหามะเร็งในระยะแรกแนะนำทำให้ในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป

                14.รูปร่างหลังการเสริมหน้าอกการประเมิน รูปร่างหน้าอกหลังทำการผ่าตัดขึ้นกับลักษณะหน้าอกก่อนจะผ่าตัดมากที่สุดโดยรูปร่างที่ออกมา จะเป็นรูปร่างหน้าอกก่อนการผ่าตัดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การเสริมหน้าอกคือการผ่าตัดเพื่อเพิ่มขนาดหน้าอกเท่านั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐานอื่นๆของหน้าอกได้ ปัจจัยพื้นฐานได้แก่ขนาดรูปร่างของ เนื้อนม ลักษณะกล้ามเนื้อหน้าอก กระดูกซี่โครง รวมถึงความกว้างของไหล่ อาจมีความแตกต่างกันมากในแต่ละบุคคลปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ลักษณะของผิวหนังหน้าอก ลักษณะและรูปร่างของกระดูกตำแหน่งของราวนมสองข้างว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ ตำแหน่งและขนาดของหัวนมและปานนมโดยส่วนใหญ่เต้านมซ้ายและขวา ย่อมมีความแตกต่างกันเสมอ และการเสริมหน้าอกก็ไม่สามารถแก้ไขความแตกต่างได้ทั้งหมดตัวอย่างเช่นระดับของราวนมหรือระดับของหัวนมเป็นต้น

                15.ร่องอกเป็นปัจจัยที่อาจต้องพิจารณาในการที่ปรึกษาแพทย์ในปัจจุบันถือว่ารูปร่างของร่องอกเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสวยงามของหน้าอกเท่าๆกับลักษณะของเต้านมเพราะในขณะที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่เปิดขึ้นมากกว่าเสื้อผ้าปกติส่วนของร่องอกเป็นส่วนที่ผู้หญิงต้องมักจะเปิดเผยก่อนส่วนอื่นของเต้านม การที่มีร่องอกสวยช่วยให้เลือกเสื้อผ้าสวมใส่ง่ายและมีความมั่นใจมากขึ้น ความลึกและความกว้างของร่องอกจะไม่เท่ากันในแต่ละคนโดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างคือ

                ลักษณะรูปร่างของกระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอก

                กระดูกหน้าอกคือกระดูกที่อยู่กลางร่องอกเชื่อมต่อกระดูกซี่โครงสองข้าง

1.ในคนที่หน้าอกปกติกระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกอยู่ในระดับเดียวกันและมีไขมันเพียงพอบริเวณกระดูกหน้าอกก็จะมีร่องอกพอเหมาะและสวยงาม

2.ในคนที่ลักษณะกระดูกหน้าอกนูนขึ้นหรือที่เรียกว่าอกไก(Pigeon breast)กระดูกซี่โครงสองข้างจะลดลงล่างโดยที่ กระดูกหน้าอกนูนกว่าปกติ

-ในกลุ่มนี้หลังผ่าตัดร่องอกจะไม่ลึกมากและหลังการผ่าตัด หัวนมจะชี้ออกด้านข้างมากกว่าในคนที่หน้าอกปกติ

-การแก้ไขหลังผ่าตัดอาจต้องใส่ชุดชั้นในแบบพิเศษก็จะช่วยให้ร่องอกดูดีและชัดเจนขึ้น

3.คนที่หน้าอกบุ๋มเป็นคนที่มีกระดูกหน้าอกบุ๋มและกระดูกซี่โครงจะลาดลงด้านในร่องอก

-กลุ่มนี้หลังการผ่าตัดร่องอกจะลึกมากและหัวนมก็จะชี้ด้านในตามความลาดเอียงของกระดูกซี่โครง

-ไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกระดูกหน้าอกและบริเวณด้านข้างรอบๆกระดูก หน้าอกที่ติดกับเต้านมมีผลต่อระยะห่างระหว่าง

-เนื้อเต้านม หัวนม กับกระดูกหน้าอก

-การเสริมใต้ผิวหนังทำให้ร่องอกแคบกว่าใต้กล้ามเนื้อ

-ถุงซิลิโคน ทรงสูง จะทำให้ร่องอกลึกกว่าทรงต่ำ

-ในคนที่มีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ร่องอกจะค่อนข้างห่างกว่า คนที่มีไขมันใต้ผิวหนังบริเวณร่องอกมากกว่า