การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  • Print
  1. เตรียม บรานิ่ม (sport bra) ขนาดใกล้เคียงกับเต้านมใหม่เพื่อใช้ใส่หลังผ่าตัด
  2. งดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนมาผ่าตัด
  3. หลีกเลี่ยงการผ่าตัดในช่วงมีประจำเดือน
  4. ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องผ่าตัด
  5. ตรวจเลือดดูระบบโลหิตการทำงานของไตเอกซเรย์ปอดและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถ้าอายุมากกว่าหรือ เท่ากับ 35 ปี
  6. ควรพาเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด
  7. อุปกรณ์ของมีค่าควรเก็บไว้ที่บ้านหากไม่จำเป็น
  8. โดยทั่วไปจะผ่าตัดที่โรงพยาบาลโดยทั่วไป ไม่แนะนำให้ขับรถมาเองในวันผ่าตัด เนื่องจากจะเกิดความกังวลหลังผ่าตัดไม่มีสมาธิในการขับรถ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้แนะนำใช้บริการรถสาธารณะจะดีที่สุด
  9. เตรียมนัดผู้ที่จะมาเป็นเพื่อนในวันผ่าตัดรวมทั้งผู้ที่มาเป็นเพื่อนกลับบ้านหรือช่วยขับรถกลับบ้าน หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมงควรมีคนช่วยดูแลตลอดเวลาเพราะไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ
  10. เตรียมบราอย่างนิ่มที่ไม่มีขอบประมาณ 2 – 3 ตัวควรเลือกขนาดที่ใหญ่แบบไซร์ที่ต้องการได้หลังผ่าตัด เลือกบราชนิดที่ไม่เสริมฟองน้ำ
  11. เตรียมหมอน 2 – 3 ใบ สำหรับนอนหนุนศรีษะที่บ้านหลังการผ่าตัด
  12. ก่อนผ่าตัดตรวจสอบยาที่ทานประจำ ยาสมุนไพร วิตามิน หรือยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดบางชนิดใดว่าต้องหยุดก่อนการผ่าตัด
  13. งดยาแก้ปวดที่ไม่ใช่ พาราเซตามอล เช่น แอสไพริน บรูเฟน วิตามินหรือสมุนไพรประมาณ 2 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัด วิตามินสมุนไพรบางชนิดมีผลให้เลือดหยุดยากเช่นวิตามินอี
  14. ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

     

  15. ถอดเครื่องประดับทุกชนิดก่อนเข้าห้องผ่าตัดโดยทั่วไปแนะนำให้ถอดไว้ที่บ้านไม่ต้องพกมาโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการสูญหาย
  16. หลีกเลื่ยงการผ่าตัดช่วงมีประจำเดือน โดยทั่วไปช่วงมีประจำเดือนสามารถผ่าตัดได้แต่จะมีปัญหาเรื่องการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด และเคลื่อนไหวไม่สะดวกถ้ามีประจำเดือนก็จะมีภาระที่ต้องทำมากขึ้น ( หมายเหตุ ) แพทย์บางท่านอาจไม่แนะนำให้ผ่าตัดในช่วงที่มีประจำเดือน
  17. ในวันผ่าตัดควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ใส่สบาย เลือกเสื้อที่ติดกระดุมหน้า หรือรูดซิป ด้านหน้าไม่ควรใส่เสื้อที่สวมทางคอเพราะหลังผ่าตัดใส่ยากกางเกงควรเลือกกางเกงที่สวมสบายไม่ฟิตมาก รองเท้าสวมรองเท้าที่สวมสบายไม่หุ้มข้อ

  18. ถ้าสูบบุหรี่ควรหยุดสูบ 4 – 6 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัดถ้า ไม่สามารถหยุดสูบได้ควรลดปริมาณการสูบลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ผ่าตัดยกหน้าอกร่วมด้วย เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลงทำให้แผลหายช้า และในผู้ที่ยกกระชับหน้าอกด้วยอาจทำให้ผิวหนังขาดเลือดและทำให้แผลแยกและติดเชื้อได้
  19. ถ้ามีเวลาควรออกกำลังกาย ผิวหนังหน้าท้องเพราะหลังผ่าตัดผิวหนังหน้าท้องแข็งแรง การเปลี่ยนท่าหรือการลุกนั่งนอนจะทำได้ง่ายขึ้น
  20. เตรียมเสื้อผ้าที่สวมใส่ง่าย ใส่สบายเสื้อติดกระดุมหน้าไม่ใส่ผ่านคอรวมทั้งกางเกงที่สวมใส่สบายไว้ให้เพียงพออย่างน้อย 7 วัน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องหาซื้อในช่วงพักฟื้น
  21. จดเบอร์โทรศัพท์ทาง คลีนิคหรือโรงพยาบาลไว้ในไดอารี่หรือโทรศัพท์มือถือไว้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินต้องติดต่อกับแพทย์
  22. เตรียมทำความสะอาดบ้านจัดการเรื่องซักรีดเสื้อผ้า 1 – 2 ก่อนผ่าตัด เพราะขณะพักฟื้นอาจไม่สะดวกในการดูแลบ้าน เตรียมเปลื่ยนผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนในวันก่อนผ่าตัดรวมทั้งเตรียมหมอนอีก 2 ใบเพื่อใช้สำหรับหนุนศรีษะและหน้าอกสูง
  23. ถ้าพักอาศัยคนเดียวควรเตรียมอาหารสำเร็จรูปไว้ให้เพียงพอ 2 อาทิตย์ เตรียมจานกระดาษหรือแก้วกระดาษไว้เพื่อไม่ต้องล้างภาชนะทำความสะอาด
  24. เตรียมถุงประคบเย็นไว้ประมาณ 2 ถุงใส่ไว้ในตู้เย็นช่องแช่แข็งสำหรับใช้หลังผ่าตัด ผลไม้บางชนิดแช่ช่องแข็ง
    สามารถใช้แทนถุงประคบเย็นได้
  25. ถ้ามีความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดมาก วันที่นัดผ่าตัดกับแพทย์อาจจะขอยานอนหลับไว้ในคืนก่อนผ่าตัด
  26. ถ้าอยู่คนเดียวในวันก่อนผ่าตัดให้เตรียมตัวจัดการงานธุรการให้เรียบร้อยเช่น จ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เพราะอาจไม่สามารถดำเนินการได้ใน 2 อาทิตย์ ทั้งขยะในบ้าน และรถเติมน้ำมันรถเต็มถัง
  27. เตรียมหนังสือหรือนิตยสารที่ชอบอ่านหรือหนังที่ชอบดูไว้ก่อนผ่าตัดเพราะในช่วงพักฟื้นมักจะนอนที่เตียง หรือโซฟาไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้นอกจากอ่านหนังสือดูทีวี
  28. ก่อนทำการผ่าตัดแพทย์จะทบทวนขนาด ตำแหน่ง และตำแหน่งของแผลก่อนทำผ่าตัดให้เช็คดูว่าตรงกับที่ต้องการหรือไม่
  29. ในวันก่อนผ่าตัดเติมน้ำมันรถให้เต็ม
  30. ในวันผ่าตัดตอนเช้าควรอาบน้ำ สระผม ก่อนไปผ่าตัดเพราะหลังผ่าตัดไม่สามารถอาบน้ำได้ 2 – 3 วัน ถ้าเลือกแผลผ่าตัดที่รักแร้ ควรโกนขนรักแร้ก่อนออกจากบ้าน
  31. เตรียมหาซื้อโลชั่นทาผิวไว้ใช้หลังผ่าตัด หลังผ่าตัดเนื่องจากผิวหนังบริเวณหน้าอกมักแห้งจากการที่ตึงขึ้น
  32. ไม่ทาสีเล็บไปผ่าตัด ถ้าทำเล็บไว้ควรล้างเล็บออกให้หมดเพราะในระหว่างการผ่าตัดต้องใช้เครื่องตรวจวัดออกซิเจนในเม็ดเลือด จับที่บริเวณเล็บการตรวจวัดออกซิเจนเป็นการตรวจวัดที่สำคัญที่จะให้ทราบว่าระหว่างนั้น ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอหรือไม่ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสัญญาณชืพที่ต้องดูระหว่างดมยาสลบ
  33. ไม่ควรแต่งหน้าไปในวันผ่าตัด
  34. ระหว่างผ่าตัดจะไม่ให้ใส่ชุดชั้นในอาจใส่ไปโรงพยาบาล แต่ต้องถอดก่อนเข้าห้องผ่าตัด
  35. ควรเตรียมเปิดขวดน้ำดื่มไว้ให้หลวมๆ นอกจากหลังผ่าตัดจะใช้กล้ามเนื้อหน้าอกไม่ได้
  36. ถ้าต้องการใช้ยารักษาแผลเป็นเช่นวิตามินอี แผ่นซิลิโคนควรเตรียมไว้ก่อนผ่าตัด
  37. ถ้าทานยาลดความอ้วนควรปรึกษาแพทย์
  38. ย้ายของที่อยู่สูงในบ้านลงล่างเช่นที่แขวนกุญแจ แก้วน้ำ เนื่องจากหลังผ่าตัดไม่สามารถยกแขนได้สะดวก
  39. ถ้ามีก้อนที่เต้านมยังไม่ควรทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก ควรปรึกษาศัลยแพทย์ทั่วไป เพื่อผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกมาพิสูจน์ก่อนว่า เป็นเนื้อร้ายหรือไม่
  40. ถ้ากินยาลดความอ้วนเป็นประจำควรแจ้งให้แพทย์ทราบในเวลาที่ปรึกษาแพทย์ก่อนผ่าตัด ทางที่ดีแล้วควรหยุดยาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ก่อนผ่าตัด ยาลดความอ้วนบางชนิดไม่ได้มีผลต่อการผ่าตัดแต่มีผลต่อการดมยาสลบ โดยที่กลุ่มยาที่ใช้มักมีดังนี้
    1. ยาขับปัสาวะ มีผลทำให้เกลือแร่ในกระแสเลือดผิดปกติทำให้โปรแตสเซียมต่ำขณะที่ดมยาสลบอาจทำให้กล้ามเนื้อ การหายใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานได้ ควรหยุดยาอย่างน้อย 2 อาทิตย์
    2. ยาไทรอยด์ มีผลให้เพิ่มเมตาบอลิซึมของร่างกาย การใช้ยาไทรอยด์นานๆจะกดการทำงานของต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นต่อมที่ที่กระตุ้นการใช้พลังงานของร่างกาย การที่ต่อมไทรอยด์ถูกกดการทำงานอยู่นานในร่างกาย ขณะที่มีการดมยาสลบอาจไม่สร้างฮอร์โมนตามปกติทำให้มีปัญหาได้ ควรปรึกษาแพทย์ทางต่อมไร้ท่อว่าควรหยุดยานานเท่าใด
    3. ยากระตุ้นประสาท การใช้ยากระตุ้นประสาท ยาชา อาจมีผลให้ยาสลบในปริมาณมากขึ้น
  41. ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจควรบอกแพทย์ก่อนผ่าตัดเพราะการผ่าตัดมักมีการใช้จี้ไฟฟ้าซึ่ง
    กระทบต่อการทำงานของเครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจได้
  42. ผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ เคยผ่าตัดหัวใจ และทานยาป้องกันการแข้งตัวของเลือดและเกร็ดเลือดควรปรึกษาอายุร
    แพทย์ก่อนตัดสินใจปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อผ่าตัด หมายเหตุในต่างประเทศมีการใช้ยา Dramelain หรือ Arinca
    ช่วยลดจากอาการบวมและเขียวได้
ยาและอาหารที่ต้องหยุดก่อนการผ่าตัด
  • - ยากลุ่ม แอสไพรินและบรูเฟนเป็นยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตามอล ยากลุ่มนี้ มีมากมายหลายชนิด และมีข้อแตกต่างกัน ยาเหล่านี้มีผลให้การเกาะผิวของเกร็ดเลือด ทำได้ยากมีผลให้เลือดออกไม่หยุด จึงควรต้องหยุดยา 2 อาทิตย์ก่อนผ่าตัด ( จำไว้ว่ายาแก้ปวดลดไข้ที่กินได้ก่อนผ่าตัดคือ พาราเซตามอนเท่านั้น )
  • - ยาต้านอาการซึมเศร้า เช่น Imipranme ก็ควรหยุดก่อนผ่าตัด 2 อาทิตย์
  • - อาหารบางชนิดมีส่วนประกอบ ซาลิซิเลต ควรหยุด 10-14 วันก่อนผ่าตัด
  • - อัลมอนล์
  • - แอปเปิ้ล
  • - แบลกเบอรี่
  • - เชอร์รี่
  • - แตงกวา
  • - ขิง
  • - กระเทียม
  • - องุ่น
  • - พรุน
  • - สตอร์เบอร์รี่
  • - ราสเบอร์รี่
  • - มะเขือเทศ
  • - ไวน์
  • - ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจหรือเส้นเลือดอุดตัน ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดได้แก่ Heparin คุมาดิน
  • - วิตามิน หรือสมุนไพรบางชนิด ควรหยุด 10 วันก่อนผ่าตัด
  • - วิตามิน E
  • - วิตามิน C
  • - ใบแปะก๊วย
  • - กระเทียม