การผ่าตัดแก้ไข

การผ่าตัดแก้ไข

  • Print


โดยทั่วไปการผ่าตัดแก้ไขเต้านมมักทำในกรณีต่างๆ ดังนี้ คือต้องการเปลี่ยนขนาดถุงเต้านมต้องการให้เต้านมนิ่มและเป็นธรรมชาติมากขึ้นและการแก้ไขพังพืดหดรัดโดยทั่วไป ถุงเต้านมจะมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หลังจากเสริมหน้าอกในระยะเวลาดังกล่าว คนไข้อาจต้องการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนถุงซิลิโคนโดยอาจต้องการผ่าตัดด้วยเหตุผลต่างๆกัน

หลังการเสริมหน้าอกอาจมีปัญหาบางอย่างที่ทำให้คนไข้บางคนไม่ชอบซึ่งมักต้องการการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ได้แก่

  1. การเลื่อนของถุงเต้านม ( Bottoming out)
    การเลื่อนของถุงเต้านมลงล่างเกิดจากการที่ถุงเต้านมเลื่อนลงจากตำแหน่งใต้ราวนมเดิม ทำให้ตำแหน่งของหัวนมสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฐานนมมักพบว่าเกิดจากการที่ไม่มีกล้ามเนื้อรองรับในกรณีที่วางถุงเต้านมไว้เหนือกล้ามเนื้อ ทำให้ส่วนที่รองรับเต้านมมีเพียงผิวหนังอย่างเดียว การเปิดช่องว่างส่วนใต้ราวนมมากเกินไปก็เป็นสาเหตุหน้าที่ทำให้เกิดการเลื่อนของถุงต่ำไปได้การเลื่อนของถุงบางครั้ง อาจเกิดขึ้นภายหลังผ่าตัด ระยะหลังในคนที่เปิดแผลราวนมหรือปานนมทำให้แผลราวนมเลื่อนขึ้นขณะที่ขอบล่างของ เต้านมถูกยืดและเลื่อนลงแยกจากผนังหน้าอก ทำให้ถุงซิลิโคนเลื่อนลงการเลื่อนของถุงพบน้อยในคนที่ทำถุงใต้กล้ามเนื้อทั้งหมดและไม่ได้ลงแผลที่หัวนมหรือราวนมเนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ถูกตัด

    การแก้ไข
    • ทำโดยขยายช่องแคปซูลด้านบนทำให้กว้างขึ้นเพื่อรองรับถุงเต้านมให้เพียงพอพร้อมทั้งเย็บตำแหน่ง
      ขอบล่างใหม่โดยใช้ไหมที่ไม่ละลาย
    • อาจย้ายตำแหน่งของถุงเต้านมไปไว้ในระดับใต้กล้ามเนื้อถ้าตำแหน่งเดิมอยู่เหนือกล้ามเนื้อ
  2. เต้านมชิดกันเกินไป ( Symmastia )
    เกิดจากการที่ช่องว่างที่สร้างไว้สำหรับถุงซิลิโคน ติดต่อกันผ่านหน้ากระดูกหน้าอกทำให้ช่องที่ทั้ง 2 ช่องต่อกันสาเหตุมักเกิดจากการที่ต้องการทำให้ร่องอกมีความแคบมากที่สุดทำให้มีการแยกชั้นกล้ามเนื้อ และไขมันบริเวณกระดูกหน้าอก มากเกินไปทำให้ช่องว่างต่อกันถึง ในเฉพาะคนที่ผอมมากและเพราะในคนที่ผอมบางผิวหนังและไขมันที่กล้ามเนื้อหน้าอกมีน้อย ทำให้มีโอกาสจะฉีกขาดได้มากโดยจะเห็นได้ชัดกรณีที่ใช้ถุงเต้านมขนาดใหญ่มากปัญหานี้อาจเกิดได้ทั้งการเสริมเหนือกล้ามเนื้อและใต้กล้ามเนื้อ

    การแก้ไข
    • ทำโดยผ่าตัดเปิดแผลบริเวณร่องอกออกและเย็บปิดผิวหนังเข้ากับกระดูกหน้าอกโดยใช้ไหมชนิดที่ละลายได้
    • กรณีที่เกิดกับการเสริมเหนือกล้ามเนื้ออาจแก้ไขโดยย้ายตำแหน่งถุงในตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อด้านในจะเป็นตัวป้องกันการเกิดเต้านมติดกัน
    • ถ้าถุงใส่ใต้กล้ามเนื้อ การแก้ไขต้องตัดแผลเป็นออกและเย็บขอบแผลกลางหน้าอกใช้ไหมไม่ละลายหลายตำแหน่งและลดความตึงของเต้านมโดย เปิดขยายช่องว่างออกด้านข้างได้มากขึ้นหรืออาจเปลี่ยนถุงซิลิโคนเป็นขนาดเล็กลง
    • หลังการผ่าตัดต้องใส่ยกทรงพิเศษ ( Thong bra ประมาณ 6-12 อาทิตย์)
      การป้องกัน
    • อย่าเลาะขยายเนื้อเยื่อกลางหน้าอกมากเกินไป
    หมายเหตุ ในคนที่มีรูปร่างผอมมากไม่ควรใส่ถุงเต้านมที่มีขนาดใหญ่เกินไปโดยเฉพาะไม่ควรเสริม
    เหนือกล้ามเนื้อ เพราะในคนที่ผอมจะมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ทำให้หลังการเสริมหน้าอกเห็นขอบรอยต่อของถุง
    เต้านม และขอบนอกของผิวหนังเต้านมชัดเจน และถ้าเกิดพังพืดขึ้นจะทำให้มีโอกาสเห็นรอยพับของถุงเต้านมได้
    ชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใส่ถุงเต้านมขนาดใหญ่เกินไปและทำช่องว่างให้ใหญ่กว่าถุงเสมอและนวด
    หลังผ่าตัดเพื่อให้ช่องว่าง ที่มี ขนาดกว้างกว่าขนาดของถุงเต้านมเสมอ
  3. พังพืดหดรัด
    เกิดจากการที่พังพืดรอบถุงเต้านมหดรัดเล็กลงทำให้เกิดลักษณะเป็นก้อนแข็งขึ้นบริเวณเต้านม สาเหตุเชื่อว่า อาจ
    เกิดจากการที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบรอบๆถุงเต้านม และเกี่ยวข้องกับการมี
    น้ำเหลืองคั่งหรือการผ่าตัด ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่การมีเลือดคั่งหลังการผ่าตัด การสูบบุหรี่

    การรักษาพังพืดหดรัดทำโดยการผ่าตัดเอาพังพืดออกบางส่วนรวมถึงขยายโพรงรอบๆถุงเต้านมให้กว้างขึ้น เพื่อให้โพรงมีขนาดใหญ่ขึ้น หลังผ่าตัด นวดเพื่อให้โพรงมีขนาดใหญ่กว่าถุงเต้านม

    การป้องกัน
    • ทำโดยใส่ถุงเต้านมไว้ใต้กล้ามเนื้อ
    • หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของแบคทีเรียโดยไม่ผ่าตัดผ่านเนื้อเต้านม
    • ในช่วงผ่าตัดล้างโพรงช่องว่างด้วยยาปฏิชีวนะ
  4. ถุงแฟบ
    ถุงน้ำเกลือ ถึงแม้ว่าจะมีคุณภาพดีขึ้นมากในปัจจุบันแต่อาจมีปัญหาการรั่วซึมได้ในประเทศอเมริกา ผู้ผลิตรับประกันการรั่วซึมถ้าเกิดขึ้น สามารถผ่าตัดเปลี่ยนถุงได้ฟรี แต่บริษัทจะจ่ายค่าผ่าตัด $1200 ใน 5 ปี แรกหลังจาก 5 ปีจะต้องเสียค่าผ่าตัดเอง

    สาเหตุของการรั่วได้แก่ 
    • ถุงที่มีผิวบางมีโอกาสรั่วน้อยกว่าถุงที่มีผิวหนา
    • ถุงผิวเรียบมีโอกาสพบน้อยกว่า
    • การเติมน้ำในถุงน้อยกว่าที่กำหนดทำให้แฟบได้มาก
    • การทำช่องว่างขนาดเล็กเกินไปสำหรับถุงเต้านมทำให้ถุงเต้านมมีการพับงอทำให้รั่วได้
    การแก้ไข
    • ทำโดยผ่าตัดเปลี่ยนถุงเต้านมพร้อมที่ขยายโพรงของเต้านมให้กว้างขึ้นพร้อมทั้งเอาพังพืดออก ถ้ามีพัง
      พืดหดรัดร่วมด้วย
    การป้องกัน
    • ใช้ถุงน้ำเกลือชนิดผิวเรียบจะมีโอกาสแฟบน้อยกว่าผิวทราย
    • เปิดช่องโพรงเต้านมให้กว้างกว่าถุงเต้านม
  5. การมองเห็นรอยพับงอ ( รูป )

    การมองเห็นรอยพับงอมักพบในคนที่มีรูปร่างผอมมีผิวหนังและเนื้อหน้าอกน้อยโดยเฉพาะคนที่ใส่ถุงผิวทรายหรือผ่าตัดในระดับเหนือกล้ามเนื้อ รอยพับของถุงแบ่งเป็น 2 แบบ
    1. รอยพับของเปลือกถุงเองพบที่บริเวณของด้านนอกและด้านล่างของถุงโดยพบทั้งในถุงผิวทรายและผิวเรียบ
      โดยเฉพาะคนที่ผ่าตัดใส่ถุงเหนือกล้ามเนื้อ
    2. รอยพับจากการดึงรั้งพบเฉพาะในถุงผิวทรายจะมีการรั้งระหว่างพังพืดที่ผิวของซิลิโคนและบริเวณพังพืดรอบๆ ทำให้มีการดึงผิวหนังและไขมัน เข้าไปด้านในพังพืดชนิดนี้อาจดึงถุงเต้านมออกจากแนวกลางลำตัว ทำให้ร่องอก เห็นได้ไม่ชัด ( ปัญหาของการดึงรั้งแบบนี้ ทำให้บริษัทผลิตถุงเต้านมเป็นแบบทรายละเอียด Micro textured)
      ปัจจัยเสี่ยง
      • ถุงน้ำเกลือมีโอกาสเกิด รอยพับมากกว่าถุงgel เพราะน้ำเกลือและผิวของถุงมีความยืดหยุ่นแตกต่างกันการเติมน้ำให้มากขึ้น อาจช่วยลดปัญหาการพับงอของถุงได้บ้างแต่ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด
      • ถุงผิวทรายที่มีขนาดใหญ่มีโอกาสเกิดปัญหาเรื่องคลำได้ขอบถุงหรือรอยพับของถุงได้มาก
      • การใส่ถุงในระดับเหนือกล้ามเนื้อทำให้มีโอกาสเห็นรอยพับได้ชัดเจนขึ้น
      การแก้ไข
      • ทำโดยการผ่าตัดเอาถุงผิวทรายออกพร้อมทั้งเอาพังพืดรอบๆออก
      • ย้ายตำแหน่งให้อยู่ใต้กล้ามเนื้อ
      • เปลี่ยนถุงเป็นถุงผิวเรียบโดยอาจเป็นถุงน้ำเกลือหรือถุงเจลก็ได้
      • เปิดโพรงช่องว่างให้กว้างกว่าถุงเต้านมเพื่อป้องกันการเกิดพังพืดแข็งถึงแม้จะไม่เป็นพังพืดหดรัด แต่ถ้าแคปซูลของพังพืดมีขนาดเล็กลงมากจะทำให้เต้านมไม่นิ่มเป็นธรรมชาติหรืออาจดึงรั้งให้เกิดรอยพับงอได้ง่าย
      การป้องกัน
      • ทำการผ่าตัดใต้กล้ามเนื้อ
      • หลีกเลี่ยงในการใช้ถุงผิวทรายน้ำเกลือในคนที่มีรูปร่างผอมได้เฉพาะถ้าใส่เหนือกล้ามเนื้อ
      • หลีกเลี่ยงถุงที่มีขนาดใหญ่เกินไป
      • เปิดช่องว่างให้มีขนาดใหญ่กว่าถุงเต้านมเพื่อป้องกันการพับงอของถุง
    3. การคล้อยของหน้าอก
      บางครั้งถ้าไม่ได้ประเมินก่อนการผ่าตัดเรื่องการคล้อยของหน้าอก หลังการผ่าตัด อาจมีปัญหาเรื่อง
      อาการคล้อยให้เห็นชัดเจนขึ้นจำเป็นต้องแก้ไขโดยการผ่าตัดยกกระชับเต้านมภายหลังโดยเลือกเทคนิคตามการ
      คล้อยของเต้านมดังนี้
      เกรด 1 คล้อยเล็กน้อย - ยกหัวนมโดยผ่าเป็นรูปครึ่งวงกลมที่ขอบบนของปานนม
      เกรด 2 คล้อยน้อย - เทคนิคยกกระชับรูปโดนัท
      เกรด 3 คล้อยปานกลาง- เทคนิคที่มีแผลแนวตั้ง
      เกรด 4 คล้อยมาก - เทคนิคที่มีแผลเป็นรูปตัว ที